วันเสาร์ที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2552

อาฎานาฏิยปริตร

อาฏานาฏิยปริตร
วิปัสสิสสะ นะมัตถุ / ความนอบน้อมแห่งข้าพเจ้าจงมีแด่พระวิปัสสีพุทธเจ้า / จักขุมันตัสสะ สิรีมะโต / ผู้มีจักษุ ผู้มีสิริ / สิขิสสะปิ นะมัตถุ ความน้อมน้อมแห่งข้าพเจ้า จงมีแด่พระสิขีพุทธเจ้า / สัพพะภูตานุกัมปิโน / ผู้ปกติอนุเคราะห์แก่สัตว์ทั้งปวง / เวสสะภุสสะ นะมัตถุ / ความน้อมน้อมแห่งข้าพเจ้า จงมีแด่พระเวสสภูพุทธเจ้า / นหาตะกัสสะ ตะปัสสิโน /ผู้มีกิเลสอันล้างแล้ว ผู้มีตปะ/ นะมัตถุ กะกุสันธัสสะ / ความน้อมน้อมแห่งข้าพเจ้า จงมีแด่พระกกุสันธพุทธเจ้า / มาระเสนัปปะมัททิโน / ผู้ย่ำยีเสียซึ่งมารและเสนา / โกนาคะมะนัสสะ นะมัตถุ / ความน้อมน้อมแห่งข้าพเจ้า จงมีแด่พระโกนาคมพุทธเจ้า / พราหมะณัสสะ วุสีมะโต / ผู้มีบาปอันลอยแล้ว ผู้มีพรหมจรรย์อันอยู่จบแล้ว/ กัสสะปัสสะ นะมัตถุ /ความน้อมน้อมแห่งข้าพเจ้า จงมีแด่พระกัสสปพุทธเจ้า / วิปปะมุตตัสสะ สัพพะธิ / ผู้พ้นแล้วจากกิเลสทั้งปวง / อังคีระสัสสะ นะมัตถุ / ความน้อมน้อมแห่งข้าพเจ้า จงมีแด่พระอังคีรสพุทธเจ้า / สักยะปุตตัสสะ สิรีมะโต /ผู้เป็นโอรสแห่งศากยราชผู้มีสิริ/ โย อิมัง ธัมมะมะเทเสสิ / พระพุทธเจ้าพระองค์ใด ได้ทรงแสดงซึ่งธรรมนี้ / สัพพะทุกขาปะนูทะนัง / เป็นเครื่องบรรเทาเสียซึ่งทุกข์ทั้งปวง / เย จาปิ นิพพุตาโลเก/ อนึ่ง พระพุทธเจ้าทั้งหลายเหล่าใดก็ดีที่ดับกิเลสแล้วในโลก / ยะถาภูตัง วิปัสสิสุง /พระพุทธเจ้าทั้งหลายเหล่านั้น เป็นคนไม่มีความส่อเสียด / มะหันตา วีตะสาระทา / ผู้เป็นใหญ่ผู้มีความครั่นคร้ามไปปราศแล้ว / หิตัง เทวะมะนุสสานัง, ยัง นะมัสสันติ โคตะมัง / เทพดาและมนุษย์ทั้งหลายนอบน้อมอยู้ซึ่งเป็นพระพุทธเจ้าพระองค์ใด ผู้เป็นโคตมโคตร ผู้เป็นประโยชน์เกื้อกูลแก่เทพดา และมนุษย์ทั้งหลาย / วิชชาจะระณะสัมปันนัง/ ถึงพร้อมแล้วด้วยวิชชาและจรณะ/ มหันตัง วีตะสาระทัง / ผู้ใหญ่ผู้มีความครั่นคร้ามไปปราศแล้ว / วิชชาจะระณะสัมปันนัง พุทธัง วันทามะ โคตะมันติ ข้าพเจ้าทั้งหลายขอนมัสการพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้โคตมโคตรผู้ถึงพร้อมแล้วด้วยวิชชาและจรณะ / เอตอ จัญเญ จะ สัมพุทธา / พระพุทธเจ้าเหล่านี้ก็ดี เหล่าอื่นก็ดี / อะเนกะสะตะโกฏะโย / หลายร้อยโกฏิ/ สัพเพ พุทธา อะสะมะสะมา / พระพุทธเจ้าเหล่านั้นทั้งหมดเสมอกันไม่มีใครเหมือน / สัพเพ พุทธา มะหิธิกา / พระพุทธเจ้าเหล่านั้นล้วนประกอบแล้วด้วยทศพลญาณ/ เวสารัชเชหุปาคะตา / ประกอบไปด้วยเวสารัชชญาณ / สัพเพ เต ปะฏิชานันติ / พระพุทธเจ้าเหล่านั้นล้วนตรัสรู้อยู่ / อาสะภัณฐานะมุตตะมัง / ซึ่งอาสภฐานอันอุดม/ สีหะนาทัง นะทันเต เต, ปะริสาสุ วิสาระทา/ พระพุทธเจ้าเหล่านั้นเป็นผู้องอาจไม่ครั่นคร้ามบันลือสีหนาทในบริษัททั้งหลาย / พรัหมะจักกัง ปะวัตเตนติ / ยังพรหมจักรให้เป็นไป/ โลเก อัปปะฏิวัตติยัง / อันใครๆยังไม่ไดให้เป็นไปแล้วในโลก / อุเปตา พุทธะธัมเมหิ /พระพุทธเจ้าทั้งหลายเหล่านั้นประกอบแล้วด้วยพุทธธรรมทั้งหลาย/ อัฏฐาระสะหิ นายะกา / 18 เป็นนายก/ ทวัตติงสะลักขะณูเปตา สีตยานุพยัญชะนาธะรา / ผู้ประกอบด้วยพระลักษณะ 32 ประการ และทรงซึ่งอนุพยัญชนะ 80 / พยามัปปะภายะ สุปปะภา / มีรัศมีอันงามด้วยพระรัศมี มีมณฑลข้างละวา/ สัพเพ เต มุนิกุญชะรา / พระพุทธเจ้าเหล่านั้น้วนเป็นมุนีอันประเสริฐ / พุทธา สัพพัญญุโน เอเต /พระพุทธเจ้าเหล่านั้นล้วนเป็นพระสัพพัญญู/ สัพเพ ขีณาสะวา ชินา / ล้วนเป็นพระขีณาสพ ผู้ชนะ / มะหัปปะภา มะหาเตชา/ มีพระรัศมีอันมาก มีพระเดชอันมาก / มะหาปัญญา มหัปผะลา / มีพระปัญญามาก มีพระกำลังมาก / มะหารุณิกา ธีรา / มีพระกรุณามาก เป็นนักปราชญ์/ สัพเพสานัง สุขาวะหา/ นำสุขมาเพื่อสัตว์ทั้งหลายทั้งปวง/ ทีปา นาถา ปะติฏฐา จะ / เป็นเกาะ เป็นที่พึ่งและเป็นที่อาศัย/ ตาณา เลณา จะ ปาณินัง/ เป็นที่ต้านทานเป็นที่เร้นของสัตว์ / คะตี พันธู มะหัสสาสา / มีคติ เป็นเผ่าพันธุ์ เป็นที่ยินดีมาก / สะระณา จะ หิเตสิโน / เป็นที่ระลึกและแสวงหาประโยชน์/ สะเทวะกัสสะ โลกัสสะ/ เพื่อสัตว์โลกกับเทวโลก/ สัพเพ เอเต ปะรายะนา / พระพุทธเจ้าเหล่านั้นล้วนเป็นเบื้องหน้าของสัตว์ / เตสาหัง สิระสา ปาเท, วันทามิ ปุริสุตตะเม, วะจะสา มะนะสา เจวะ, วันทาเมเต ตะถาคะเต /ข้าพเจ้าขอวันทาพระบาทของพระพุทธเจ้าทั้งหลายเหล่านั้นด้วยเศียรเกล้าและขอวันทาพระพุทธเจ้าทั้งหลายเหล่านั้นผู้เป็นบุรุษอันอุดมผู้เป็นตถาคต ด้วยวาจาและใจทีเดียว/ สะยะเน อาสะเน ฐาเน / ในที่นอนด้วย ในที่นั่งด้วย ในที่ยืนด้วย/ คะมะเน จาปิ สัพพะทา / แม้ในที่เดินด้วยในกาลทุกเมื่อ/ สะทา สุเขนะ รักขันตุ, พุทธา สันติกะรา ตุวัง /พระพุทธเจ้า ผู้กระทำความระงับ จงรักษาท่านด้วยความสุขในกาลทุกเมื่อ / เตหิ ตวัง รักขิโต สันโต/ ท่านผู้อันพระพุทธเจ้าเหล่านั้นทรงรักษาแล้ว จงเป็นผู้ระงับ / มุตโต สัพพะภะเยนะ จะ, สัพพะโรโค วินิมุตโต/ พ้นแล้วจากภัยทั้งปวง / สัพพะสันตาปะวัชชิโต / เว้นแล้วจากความเดือดร้อนทั้งปวง / สัพพะเวระมะติกกันโต / ล่วงเสียซึ่งเวรทั้งปวง / นิพพุโต จะ ตุวัง ภะวะ/ ท่านจงเป็นผู้ดับทุกข์ทั้งปวงด้วย / สัพพีตีโย วิวัชชันตุ / ความจัญไรทั้งปวงจงเว้นไป / สัพพะโรโค วินัสสะตุ / โรคทั้งปวงจงฉิบหายไป/ มา เต ภะวัตวันตะราโย / อันตรายอย่าได้มีแก่ท่าน / สุขี ทีฆายุโก ภะวะ / ขอท่านจงเป็นผู้มีสุขมีอายุยืน / อะภิวาทะนะสีลิสสะ, นิจจัง วัฑฒาปะจายิโน, จัตตาโร ธัมมา วัฑฒันติ อายุ วัณโณ สุขัง พะลัง / ธรรมทั้งปลาย 4 คือ อายุ วรรณะ สุขะ พละ ย่อมเจริญแก่บุคคล ผู้มีความไหว้ต่อบุคคลผู้ควรไหว้เป็นปกติ ผู้อ่นน้อมต่อบุคคลผู้เจริญเป็นนิตย์ ฯ

ลูกพุ้งพิ้ง



พุ้งพิ้ง พุ้งพ้าย คงเคยเห็นและรู้จักสำหรับเด็กใต้

วันเสาร์ที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2552

ธรรมจักรกัปวัตนสูตร

บทขัดธรรมจักรแปล อนุตตะรัง อะภิสัมโพธิง สัมพุชฌิตวา ตะถาคะโตพระตถาคตเจ้าได้ตรัสรู้ซึ่งพระอนุตตระ สัมมาสัมโพธิญาณแล้วปะฐะมัง ยัง อะเทเสสิ ธัมมะจักกัง อะนุตตะรังสัมมะเทวะ ปะวัตเตนโต โลเก อัปปะฏิวัตติยังเหมือนจะทรงประกาศธรรมที่ใครๆยังมิได้ให้เป็นไปในโลก ให้เป็นไปโดยชอบแล้ว ได้ทรงแสดงซึ่งพระอนุตตะระธรรมจักรในกรยัตถากขาตา อุโภ อันตา ปะฎิปัตติ จะ มัชฌิมาจะตูสวาริยะสัจเจสุ วิสุทธัง ญาณะทัสสะนังคือวัตรพระองค์ตรัสรู้ ซึ่งพิสูจน์ 2 ประการ ข้อปฏิบัติอันเป็นกลาง แลปัญญาอันรู้เห็นในอริยสัจทั้ง4ของพระองค์หมดจดแล้วในธรรมจักรใด เทสิตัง ธัมมะราเชนะ สัมมาสัมโพธิกิตตะนังนาเมนะ วิสสุตัง ธัมมะจักกัปปะวัตตะนังเวยยากะระณะปาเฐนะ สังคีตันตัมภะณามะ เสฯ เราทั้งหลาย จงสวดธรรมจักรนั้น ที่พระองค์ชื่อธรรมราชาได้ทรงแสดงแล้ว ปรากฏในชื่อว่า ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร เป็นสูตรประกาศพระสัมมาสัมโพธิญาณ อันพระทั้งอสีติได้ร้อยกรองไว้โดยบาลีไวยากรณ์เทอญ
ธัมมจักกัปปวัตตนสูตรเอวัมฺเม สุตังอันข้าพเจ้า(คือพระอานนทเถระ) ได้สดับมาแล้วอย่างนี้เอกัง สมยัง ภควาสมัยหนึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าพาราณะสิยัง วิหะระติ อิสิปะตะเน มิคะทาเย เสด็จประทับอยู่ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ใกล้เมืองพาราณสีตัตฺระ โข ภะคะวา ปัญฺจะวัคฺคิเย ภิกฺขู อามันฺเตสิในกาลนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเตือน พระภิกษุปัญจวัคคียว่าเทฺวเม ภิกฺขะเว อันฺตาดูก่อนภิกษุทั้งหลาย (การกระทำ)ที่สุดสองอย่างนี้ปัพฺพะชิเต นะ นะ เสวิตัพฺพาอันบรรพชิตไม่ควรเสพ (ไม่ควรข้องแวะเลย)โย จายัง กาเมสุ กามะสุขัลฺลิกานุโยโคคือการประกอบตนให้พัวพันด้วย (ความใคร่ใน)กาม ในกาม(สุข) ทั้งหลายนี้ใดหิโน (HEE โน) พิมพ์ไม่ได้เครื่องแจ้งไม่สุภาพ เป็นธรรมอันเลว เป็นของต่ำทราม คัมฺโมเป็นของชาวบ้าน เป็นเหตุให้ตั้งบ้านเรือนโปถุชฺชะนิโกเป็นของชั้นปุถุชน เป็นของคนมีกิเลสหนาอะนะริโยไม่ใช่ข้อปฏิบัติของพระอริยเจ้า ไม่ใช่ไปจากข้าศึกคือกิเลสอะนัตฺถะสัญฺหิโตไม่ประกอบด้วยประโยชน์ อย่างหนึ่งโย จายัง อัตฺตะกิละมะถานุโยโคคือการประกอบความเหน็ดเหนื่อยด้วยตน การทรมานตนให้ลำบาก เหล่านี้ใดทุกฺโขเป็นสิ่งนำมาซึ่งทุกข์ ให้เกิดทุกข์แก่ผู้ประกอบอะนะริโยไม่ใช่ข้อปฏิบัติของพระอริยเจ้า ไม่ใช่ไปจากข้าศึกคือกิเลสอะนัตฺถะสัญฺหิโตไม่ประกอบด้วยประโยชน์ อย่างหนึ่งเอเต เต ภิกฺขะเว อุโภ อันฺเต อะนุปะคัมฺมะ มัชฺฌิมา ปะฏิปะทาดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อปฏิบัติอันเป็นทางสายกลางไม่เข้าไปใกล้(การกระทำ)ที่สุด สองอย่างนั่นนั้นตะถาคะเตนะ อภิสัมฺพุทฺธาที่ตถาคตได้ตรัสรู้แล้ว ด้วยปัญญาอันยิ่งจักฺขุกะระณีทำดวงตาให้เกิดญาณะกะระณีทำญาณเครื่องรู้อุปะสะมายะ ย่อมเป็นไปเพื่อความเข้าไปสงบ ระงับอะภิญฺญายะเพื่อความรู้ยิ่งสัมโพธายะเพื่อความรู้พร้อม เพื่อความรู้ดีนิพฺพานายะ สังวัตตะติเพื่อความดับ เพื่อนิพพานกะตะมา จะ สา ภิกฺขะเว มัชฺฌิมา ปะฏิปะทาดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ข้อปฏิบัติซึ่งเป็นทางสายกลาง ไม่เข้าไปใกล้(การกระทำ)ที่สุด สองอย่างนั่น นั้นเป็นไฉนตะถาคะเตนะ อะภิสัมฺพุทฺธาที่ตถาคตได้ตรัสรู้แล้ว ด้วยปัญญาอันยิ่งจักฺขุกะระณีทำดวงตาให้เกิดญาณะกะระณีทำญาณเครื่องรู้อุปะสะมายะย่อมเป็นไปเพื่อความเข้าไปสงบ ระงับอะภิญญายะเพื่อความรู้ยิ่งสัมฺโพธายะ เพื่อความรู้พร้อม เพื่อความรู้ดี นิพฺพานายะ สังวัตฺตะติเพื่อความดับ เพื่อนิพพานอะยะเมวะ อะริโย อัฏฺฐังคิโก มัคฺโคทางมีองค์แปด เครื่องไปจากข้าศึก คือกิเลสนี้เองเสยฺยะถีทังกล่าวคือ(๑) สัมฺมาทิฏฺ ฐิปัญญาอันเห็นชอบ(๒) สัมฺมาสังฺกัปฺโปความดำริชอบ(๓) สัมฺมาวาจาการพูดจาชอบ(๔) สัมฺมากัมฺมันฺโตการทำการงานชอบ(๕) สัมฺมาอาชีโวความเลี้ยงชีวิตชอบ(๖) สัมมาวายาโมความพากเพียรชอบ(๗) สัมฺมาสะติความระลึกชอบ(๘) สัมฺมาสะมาธิความตั้งจิตมั่นชอบอะยัง โข สา ภิกฺขะเว มัชฺฌิมา ปะฏิปะทาดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันนี้แล ข้อปฏิบัติชึ่งเป็นกลางนั้นตะถาคะเตนะ อะภิสัมฺพุทฺธาที่ตถาคตได้ตรัสรู้แล้ว ด้วยปัญญาอันยิ่งจักฺขุกะระณี ทำดวงตาให้เกิด ญาณะกะระณีทำญาณเครื่องรู้อุปะสะมายะ ย่อมเป็นไปเพื่อความเข้าไปสงบ ระงับ อะภิญฺ ญายะเพื่อความรู้ยิ่ง สัมฺโพธายะ เพื่อความรู้พร้อม เพื่อความรู้ดี นิพฺพานายะ สังวัตฺตติเพื่อความดับ เพื่อนิพพานอิทัง โข ปะนะ ภิกฺขะเว ทุกฺขัง อริยะสัจฺจังดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็นี้แล เป็นทุกข์อย่างแท้จริง คือชาติปิ ทุกฺขาความเกิดก็เป็นทุกข์ชะราปิ ทุกฺขาความแก่ก็เป็นทุกข์มะระณัมฺปิ ทุกฺขังความตายก็เป็นทุกข์โสกะ ปะริเทวะ ทุกฺขะ โทมะนัสฺ สุปายาสาปิ ทุกฺขาความโศก ความรำไรรำพัน ความทุกข์(ความไม่สบายกาย) โทมนัส(ความไม่สบายใจ) และความคับแค้นใจ ก็เป็นทุกข์อัปฺปิเยหิ สัมฺปะโยโค ทุกฺโขความประสบด้วยสิ่งที่ ไม่เป็นที่รักที่พอใจทั้งหลาย ก็เป็นทุกข์ปิเยหิ วิปฺปะโยโค ทุกฺโขความพลัดพราก จากสิ่งที่รัก ที่พอใจทั้งหลาย ก็เป็นทุกข์ยัมฺปิจฺฉัง นะ ละภะติ ตัมฺปิ ทุกฺขังปรารถนาอยู่ย่อมไม่ได้ แม้อันใด แม้อันนั้น ก็เป็นทุกข์สังฺขิตฺเตนะ ปัญฺจุปาทานักฺขันฺธา ทุกฺขาโดยย่อแล้ว อุปาทานขันข์ทั้งห้า เป็นตัวทุกข์
อิทัง โข ปะนะ ภิกฺขะเว ทุกฺขะสะมุทะโย อะริยะสัจฺจังดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็นี้แล เป็นเหตุให้ทุกข์ เกิดขึ้นอย่างแท้จริง คือยายัง ตัณหาความทะยานอยาก(ของจิต)นี้อันใดโปโนพฺภะวิกาทำให้มีภพอีก อันเป็นเครื่องทำให้มีการเกิดอีกนันฺทิราคะ สะหะคะตาเป็นไปกับด้วย(อันประกอบอยู่ด้วย)ความกำหนัด ด้วยอำนาจความเพลินตัตฺระ ตัตฺราภินันฺทินีมีปกติเพลิดเพลินยิ่งนักในอารมณ์นั้นๆ (ตัณหามักเพลิดเพลินในอารมณ์ทั้งหลายมีรูปเป็นต้น ชื่อว่าในที่นั้นๆ)เสยฺยะถีทังฯได้แก่สิ่งเหล่านี้คือกามะตัณฺหาคือ ความทยานอยากในกาม ความทะยานอยากในอารมณ์ที่รัก ใคร่ภะวะตัณฺหาคือ ความทะยานอยากในความมี ความเป็นวิภะวะตัณฺหาฯคือ ความทะยานอยากในความไม่มี ไม่เป็นอิทัง โข ปะนะ ภิกฺขะเว ทุกฺขะนิโรโธ อะริยะสัจฺจังดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็นี้แล เป็นความดับทุกข์อย่างแท้จริง คือโย ตัสฺสาเยวะ ตัณฺหายะ อะเสสะวิราคะนิโรโธความดับสนิทเพราะจางไป โดยสิ้นความกำหนัด โดยไม่เหลือ แห่งตัณหานั้นนั่นเทียวอันใดจาโคความสละเสียตัณหานั้นปะฏินิสฺสัคฺโคความวาง ความสละคืน ความสละได้ขาด ตัณหานั้นมุตฺติความปล่อย ความพ้น ความหลุดพ้น ตัณหานั้น อะนาละโยความไม่พัวพัน ไม่กังวล ไม่อาลัยในตัณหานั้น(เป็นความทำไม่ให้มีที่อาศัยซึ่งตัณหานั้น)อิทัง โข ปะนะ ภิกฺขะเว ทุกฺขะนิโรธะคามินี ปะฏิปะทา อริยะสัจฺจังดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็นี้แล เป็นข้อปฏิบัติ ให้ถึงความดับทุกข์อย่างแท้จริง คืออะยะเมวะ อะริโย อัฏฺฐังฺคิโก มัคฺโคทางมีองค์แปด เครื่องไปจากข้าศึก คือกิเลส นี้เองเสยฺยะถีทังได้แก่สิ่งเหล่านี้คือ(๑) สัมฺมาทิฏฺ ฐิปัญญาอันเห็นชอบ(๒) สัมฺมาสังฺกัปฺโปความดำริชอบ(๓) สัมฺมาวาจาการพูดจาชอบ(๔) สัมฺมากัมฺมันฺโตการทำการงานชอบ(๕) สัมฺมาอาชีโวความเลี้ยงชีวิตชอบ(๖) สัมฺมาวายาโมความพากเพียรชอบ(๗) สัมฺมาสะติความระลึกชอบ(๘) สัมฺมาสะมาธิฯความตั้งจิตมั่นชอบอิทัง ทุกฺขัง อะริยะสัจฺจันฺติ เม ภิกฺขะเว ปุพฺเพ อะนะนุสฺสุเตสุ ธัมฺเมสุ จักฺขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญฺา อุทะปาทิ วิชฺชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิฯ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จักษุได้เกิดขึ้นแล้ว ญาณได้เกิดขึ้นแล้ว ปัญญาได้เกิดขึ้นแล้ว วิชชาได้เกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างได้เกิดขึ้นแล้ว แก่เรา ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยใด้ฟังแล้วในกาลก่อนว่านี้เป็น ทุกข์อริยสัจตัง โข ปะนิทัง ทุกฺขัง อะริยะสัจฺจัง ปะริญฺ เญยฺยันฺติ เม ภิกฺขะเว ปุพฺเพ อะนะนุสฺสุเตสุ ธัมฺเมสุ จักฺขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญฺา อุทะปาทิ วิชฺชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิฯ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จักษุได้เกิดขึ้นแล้ว ญาณได้เกิดขึ้นแล้ว ปัญญาได้เกิดขึ้นแล้ว วิชชาได้เกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างได้เกิดขึ้น แล้วแก่เรา ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยใด้ฟังแล้วในกาลก่อนว่า ก็ทุกข์อริยสัจนี้นั้นแล เป็นสิ่งที่ควรกำหนดรู้ตัง โข ปะนิทัง ทุกฺขัง อะริยะสัจฺจัง ปะริญฺญาตันฺติ เม ภิกฺขะเว ปุพฺเพ อะนะนุสฺสุเตสุ ธัมฺเมสุ จักฺขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญฺ า อุทะปาทิ วิชฺชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จักษุได้เกิดขึ้นแล้ว ญาณได้เกิดขึ้นแล้ว ปัญญาได้เกิดขึ้นแล้ว วิชชาได้เกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างได้เกิดขึ้น แล้วแก่เรา ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยใด้ฟังแล้วในกาลก่อนว่า ก็ทุกขอริยสัจนี้นั้นแล อันเราได้กำหนดรู้แล้วอิทัง ทุกฺขะสะมุทะโย อะริยะสัจฺจันฺติ เม ภิกฺขะเว ปุพฺเพ อะนะนุสฺสุเตสุ ธัมฺเมสุ จักฺขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญฺญา อุทะปาทิ วิชฺชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทปาทิ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จักษุได้เกิดขึ้นแล้ว ญาณได้เกิดขึ้นแล้ว ปัญญาได้เกิดขึ้นแล้ว วิชชาได้เกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างได้เกิดขึ้น แล้วแก่เรา ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยใด้ฟังแล้ว ในกาลก่อนว่านี้ ทุกขสมุทัยอริยสัจตัง โข ปะนิทัง ทุกฺขะสะมุทะโย อะริยะสัจฺจัง ปะหาตัพฺพันฺติ เม ภิกฺขะเว ปุพฺเพ อะนะนุสฺสุเตสุ ธัมเมสุ จักฺขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญฺ า อุทะปาทิ วิชฺชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จักษุได้เกิดขึ้นแล้ว ญาณได้เกิดขึ้นแล้ว ปัญญาได้เกิดขึ้นแล้ว วิชชาได้เกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างได้เกิดขึ้น แล้วแก่เรา ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยใด้ฟังแล้วในกาลก่อนว่า ก็ทุกขสมุทัยอริยสัจนี้นั้นแล ควรละเสียตังโข ปะนิทัง ทุกฺขะสะมุทะโย อริยะสัจฺจัง ปะหิ(hee)นันฺติ เม ภิกฺขะเว ปุพฺเพ อะนะนุสฺสุเตสุธัมฺเมสุ จักฺขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญฺ า อุทะปาทิ วิชฺชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จักษุได้เกิดขึ้นแล้ว ญาณได้เกิดขึ้นแล้ว ปัญญาได้เกิดขึ้นแล้ว วิชชาได้เกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างได้เกิดขึ้น แล้วแก่เรา ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยใด้ฟังแล้วในกาลก่อนว่า ก็ทุกขสมุทัยอริยสัจนี้ นั้นแล อันเราได้ละแล้วอิทัง ทุกฺขะนิโรโธ อะริยะสัจฺจันฺติ เม ภิกฺขะเว ปุพฺเพ อะนะนุสฺสุเตสุ ธัมฺเมสุ จักฺขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญฺ า อุทะปาทิ วิชฺชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จักษุได้เกิดขึ้นแล้ว ญาณได้เกิดขึ้นแล้ว ปัญญาได้เกิดขึ้นแล้ว วิชชาได้เกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยใด้ ฟังแล้ว ในกาลก่อนว่านี้เป็น ทุกขนิโรธ อริยสัจตัง โข ปะนิทัง ทุกฺขะนิโรโธ อะริยะสัจฺจัง สัจฺฉิกาตัพฺพันฺติ เม ภิกฺขะเว ปุพฺเพ อะนะนุสฺสุเตสุ ธัมฺเมสุ จักฺขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญฺา อุทะปาทิ วิชฺชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จักษุได้เกิดขึ้นแล้ว ญาณได้เกิดขึ้นแล้ว ปัญญาได้เกิดขึ้นแล้ว วิชชาได้เกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยใด้ ฟังแล้วในกาลก่อนว่า ก็ทุกขนิโรธอริยสัจนี้ นั้นแล ควรทำใหัแจ้งตัง โข ปะนิทัง ทุกฺขะนิโรโธ อะริยะสัจฺจัง สัจฺฉิกะตันติ เม ภิกฺขะเว ปุพฺเพ อะนะนุสฺสุเตสุ ธัมฺเมสุ จักฺขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญฺญา อุทะปาทิ วิชฺชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จักษุได้เกิดขึ้นแล้ว ญาณได้เกิดขึ้นแล้ว ปัญญาได้เกิดขึ้นแล้ว วิชชาได้เกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยใด้ ฟังแล้วในกาลก่อนว่า ก็ทุกขนิโรธอริยสัจนี้ นั้นแล อันเราได้ทำใหัแจ้งแล้วอิทัง ทุกฺขะนิโรธะคามินี ปะฏิปะทา อริยะสัจฺจันฺติ เม ภิกฺขะเว ปุพฺเพ อะนะนุสฺสุเตสุ ธัมฺเมสุ จักฺขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญฺา อุทะปาทิ วิชฺชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จักษุได้เกิดขึ้นแล้ว ญาณได้เกิดขึ้นแล้ว ปัญญาได้เกิดขึ้นแล้ว วิชชาได้เกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างได้เกิดขึ้น แล้วแก่เรา ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยใด้ฟังแล้ว ในกาลก่อนว่านี้ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจตัง โข ปะนิทัง ทุกฺขะนิโรธะคามินี ปะฏิปะทา อะริยะสัจฺจัง ภาเวตัพฺพันฺติ เม ภิกฺขะเว ปุพฺเพ อะนะนุสฺสุเตสุ ธัมฺเมสุ จักฺขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญฺา อุทะปาทิ วิชฺชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จักษุได้เกิดขึ้นแล้ว ญาณได้เกิดขึ้นแล้ว ปัญญาได้เกิดขึ้นแล้ว วิชชาได้เกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างได้เกิดขึ้น แล้วแก่เรา ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยใด้ฟังแล้วในกาลก่อนว่า ก็ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจนี้ นั้นแล ควรให้เจริญตัง โข ปะนิทัง ทุกฺขะนิโรธะคามินี ปะฏิปะทา อะริยะสัจฺจัง ภาวิตันฺติ เม ภิกฺขะเว ปุพฺเพ อะนะนุสฺสุเตสุ ธัมฺเมสุ จักฺขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญฺา อุทะปาทิ วิชฺชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จักษุได้เกิดขึ้นแล้ว ญาณได้เกิดขึ้นแล้ว ปัญญาได้เกิดขึ้นแล้ว วิชชาได้เกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างได้เกิดขึ้น แล้วแก่เรา ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยใด้ ฟังแล้วในกาลก่อนว่า ก็ทุกขนิโรธคามินีปฏิ ปทาอริยสัจนี้ นั้นแล อันเราเจริญแล้วยาวะกีวัญฺจะ เม ภิกฺขะเว อิเมสุ จะตูสุ อะริยะสัจฺเจสุ เอวันฺติปริวัฏฺฏัง ทฺวาทะสาการังยะถาภูตัง ญาณะทัสฺสนัง นะ สุวิสุทธัง อะโหสิดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปัญญาอันรู้เห็นตามเป็นจริงแล้วอย่างไร ในอริยสัจสี่เหล่านี้ของเรา ซึ่งมีรอบสาม มีอาการสิบสองอย่างนี้ ยังไม่หมดจดเพียงใดแล้วเนวะ ตาวาหัง ภิกฺขะเว สะเทวะเก โลเก สะมาระเก สะพฺรัหฺมะเก สัสฺสะมะณะพฺราหฺมะณิยา ปะชายะ สะเทวะมะนุสฺสายะ อนุตฺตะรัง สัมฺมาสัมฺโพธิง อะภิสัมฺพุทโธ ปัจฺจัญฺ ญาสิงฯดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราได้ยืนยันตนว่า เป็นผู้ตรัสรู้พร้อมเฉพาะ ซึ่งปัญญาเครื่องตรัสรู้ชอบ ไม่มีความตรัสรู้อื่นจะยิ่งกว่าในโลก เป็นไปกับด้วยเทพดา มาร พรหม ในหมู่สัตว์ ทั้งสมณพราหมณ์ เทพดา มนุษย์ ไม่ได้เพียงนั้นยะโต จะ โข เม ภิกฺขะเว อิเมสุ จะตูสุ อะริยะสัจฺเจสุ เอวันฺติปริวัฏฺฏัง ทฺวาทะสาการัง ยถาภูตัง ญาณะทัสฺสะนัง สุวิสุทธัง อะโหสิดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็เมื่อใดแล ปัญญาอันรู้เห็นตามเป็นจริงแล้วอย่างไร ในอริยสัจสี่ เหล่านี้ของเรา ซึ่งมีรอบสาม มีอาการสิบสองอย่างนี้ หมดจดดีแล้วอะถาหัง ภิกฺขะเว สะเทวะเก โลเก สะมาระเก สะพฺรัหฺมะเก สัสฺสะมะณะพฺราหฺมะณิยา ปะชายะ สเทวมนุสฺสาย อนุตฺตะรัง สัมฺมาสมฺโพธิง อะภิสัมฺพุทฺโธ ปัจฺจัญฺญาสิงฯเมื่อนั้น เราจึงได้ยืนยันตนว่าเป็นผู้ตรัสรู้พร้อมเฉพาะ ซึ่งปัญญาเครื่องตรัสรู้ชอบ ไม่มีความตรัสรู้อื่นจะยิ่งกว่าในโลก เป็นไปกับด้วย เทพดา มาร พรหม ในหมู่สัตว์ ทั้งสมณพราหมณ์ เทพดา มนุษย์ .
ญาณัญฺจะ ปะนะ เม ทัสฺสะนัง อุทะปาทิก็แล ปัญญาอันรู้เห็นได้เกิดขึ้นแล้วแก่เราอะกุปฺปา เม วิมุตติ อะยะมันฺติมา ชาติ นัตฺถิทานิ ปุนัพฺภะโวติว่าความพ้นพิเศษของเราไม่กลับกำเริบ ชาตินี้เป็นที่สุดแล้ว บัดนี้ไม่มีภพอีกอิทะมะโวจะ ภะคะวาพระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัสธรรมปริยายนี้แล้วอัตฺตะมะนา ปัญฺจะวัคฺคิยา ภิกฺขูภิกษุปัญจวัคคีย์ก็มีใจยินดีภะคะวะโค ภาสิตัง อภินันฺทุงเพลินภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้าอิมัสฺมิญฺจะ ปะนะ เวยฺยากะระณัสฺมิง ภัญฺญะ มาเนก็แลเมื่อเวยยากรณ์นี้ อันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอยู่อายัสฺมะโต โกณฺฑัญฺญัสสะ วิระชัง วีตะมะลัง ธัมฺมะจักฺขุง อุทะปาทิจักษุในธรรม อันปราศจากธุลี ปราศจากมลทิน ได้เกิดขึ้นแล้ว แก่พระผู้มีอายุโกณฑัญญะยังฺกิญฺจิ สะมุทะยะธัมฺมัง สัพฺพันฺตัง นิโรธะธัมฺมันฺติว่าสิ่งใดสิ่งหนึ่ง มีอันเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งทั้งปวงนั้น มีอันดับไปเป็นธรรมดาปะวัตฺติเต จะ ภะคะวะตา ธัมฺมะจักเกก็ครั้นเมื่อธรรมจักร อันพระผู้มีพระภาคเจ้า ให้เป็นไปแล้วภุมฺมา เทวา สัทฺทะมะนุสฺสาเวสุงเหล่าภุมมเทพดา ก็ยังเสียงให้บันลือลั่นเอตัมฺภะคะวะตา พาราณะสิยัง อิสิปะตะเน มิคะทาเย อะนุตตะรัง ธัมฺมะจักฺกัง ปะวัตฺติตัง อัปฺปะฏิวัตฺติยัง สะมะเณนะ วา พฺราหฺมะเณนะ วา เทเวนะ วา มาเรนะ วา พฺรัหฺมุนา วา เกนะจิ วา โลกัสมินฺติว่านั้นจักร คือธรรม ไม่มีจักรอื่นสู้ได้ อันพระผู้มีพระภาคเจ้า ให้เป็นไปแล้ว ที่ป่าอิสิปตนะมฤคทายวัน ใกล้เมืองพาราณสี อันสมณพราหมณ์ เทพดา มาร พรหม และใครๆ ในโลกยังให้เป็นไปไม่ได้ ดังนี้ภุมฺมานัง เทวานัง สัทฺทัง สุตฺวา จาตุมฺมะหาราชิกา เทวา สัทฺทะมะนุสสาเวสุงเทพเจ้าเหล่าชั้นจาตุมหาราช ได้ฟังเสียงของเทพเจ้า เหล่าภุมมเทพดาแล้ว ก็ยังเสียงให้บันลือลั่น จาตุมฺมะหาราชิกานัง เทวานัง สัทฺทัง สุตฺวา ตาวะติงสา เทวา สัทฺทะมะนุสฺสาเวสุงเทพเจ้าเหล่าชั้นดาวดึงส์ ได้ฟังเสียงของเทพเจ้า เหล่าชั้นจาตุมหาราชแล้ว ก็ยังเสียงให้บันลือลั่น ตาวะติงสานัง เทวานัง สัทฺทัง สุตฺวา ยามา เทวา สัทฺทะมะนุสฺสาเวสุงเทพเจ้าเหล่าชั้นยามะ ได้ฟังเสียงของเทพเจ้าเหล่าชั้นดาวดึงส์แล้ว ก็ยังเสียงให้บันลือลั่น ยามานัง เทวานัง สัทฺทัง สุตฺวา ตุสิตา เทวา สัทฺทะมะนุสฺสาเวสุงเทพเจ้าเหล่าชั้นดุสิต ได้ฟังเสียงของเทพเจ้าเหล่าชั้นยามะแล้ว ก็ยังเสียงให้บันลือลั่นตุสิตานัง เทวานัง สัทฺทัง สุตฺวา นิมฺมานะระตี เทวา สัทฺทะมะนุสฺสาเวสุงเทพเจ้าเหล่าชั้นนิมมานรดี ได้ฟังเสียงของเทพเจ้าเหล่าชั้นดุสิตแล้ว ก็ยังเสียงให้บันลือลั่น นิมฺมานะระตีนัง เทวานัง สัทฺทัง สุตฺวา ปะระนิมฺมิตะวะสะวัตตี เทวา สัทฺทะมะนุสฺสาเวสุงเทพเจ้าเหล่าชั้นปรนิมมิตวสวัดดี ได้ฟังเสียงของเทพเจ้าเหล่าชั้นนิมมานรดีแล้ว ก็ยังเสียงให้บันลือลั่น ปะระนิมฺมิตะวะสะวัตตีนัง เทวานัง สัทฺทัง สุตฺวา เทพเจ้าเหล่าที่เกิดในหมู่พรหม ได้ฟังเสียงของเทพเจ้าเหล่าชั้นปรนิมมิตวสวัดดีแล้ว ก็ยังเสียงให้บันลือลั่น พรัหมะปาริสัชชา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุงฯ พรัหมะปะริสัชชานัง เทวานัง สัททัง สุตวาพระพรหมเหล่าชั้นพรหมปาริสัชชาได้ฟังเสียง ก็หยั่งเสียงให้บันลือลั่นพรัหมะปะโรหิตา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุงฯ พรัหมะปะโรหิตานัง เทวานัง สัททัง สุตวา พระพรหมเหล่าชั้นพรหมปโรหิตาได้ฟังเสียง ก็หยั่งเสียงให้บันลือลั่นมะหาพรัหมา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุงฯ มะหาพรัหมานัง เทวานัง สัททัง สุตวา พระพรหมเหล่าชั้นมหาพรหมได้ฟังเสียง ก็หยั่งเสียงให้บันลือลั่นปะริตตาภา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุงฯ ปะริตตาภานัง เทวานัง สัททัง สุตวา พระพรหมเหล่าชั้นพรหมปริตตาภา ได้ฟังเสียง ก็หยั่งเสียงให้บันลือลั่นอัปปะมาณาภา เทวา สัททะมะนุสสา เวสุงฯ อัปปะมาณาภานัง เทวานัง สัททัง สุตวา พระพรหมเหล่าชั้นพรหมอัปมาณาภาได้ฟังเสียง ก็หยั่งเสียงให้บันลือลั่นอาภัสสะรา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุงฯ อาภัสสะรานัง เทวานัง สัททัง สุตวา พระพรหมเหล่าชั้นพรหมอาภัสสราพรหมได้ฟังเสียง ก็หยั่งเสียงให้บันลือลั่นปะริตตะสุภา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุงฯ ปะริตตะสุภานัง เทวานัง สัททัง สุตวา พระพรหมเหล่าชั้นพรหมปริตตสุภาพรหมได้ฟังเสียง ก็หยั่งเสียงให้บันลือลั่นอัปปะมาณะสุภา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุงฯ อัปปะมาณะสุภานัง เทวานัง สัททัง สุตวา พระพรหมเหล่าชั้นพรหมอัปปมาณสุภาพรหม ได้ฟังเสียง ก็หยั่งเสียงให้บันลือลั่นสุภะกิณหะกา เทวา สัททะ มะนุสสาเวสุงฯ สุภะกิณหะกานัง เทวานัง สัททัง สุตวา พระพรหมเหล่าชั้นพรหม สุภกิณหกาพรหมได้ฟังเสียง ก็หยั่งเสียงให้บันลือลั่นเวหัปผะลา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุงฯ เวหัปผะลานัง เทวานัง สัททัง สุตวา พระพรหมเหล่าชั้นพรหมเวหัปผลาพรหมได้ฟังเสียง ก็หยั่งเสียงให้บันลือลั่นอะวิหา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุงฯ อะวิหานัง เทวานัง สัททัง สุตวา พระพรหมเหล่าชั้นพรหมอวิหาพรหม ก็หยั่งเสียงให้บันลือลั่นอะตัปปา เทวา สัททะมะนุสสา เวสุงฯ อะตัปปานัง เทวานัง สัททัง สุตวา พระพรหมเหล่าชั้นพรหมอตัปปาพรหมได้ฟังเสียง ก็หยั่งเสียงให้บันลือลั่นสุทัสสา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุงฯ สุทัสสานัง เทวานัง สัททัง สุตวา พระพรหมเหล่าชั้นพรหมสุทัสสาพรหม ได้ฟังเสียง ก็หยั่งเสียงให้บันลือลั่นสุทัสสี เทวา สัททะมะนุสสาเวสุงฯ สุทัสสีนัง เทวานัง สัททัง สุตวาพระพรหมเหล่าชั้นพรหมสุทัสสีพรหม ได้ฟังเสียง ก็หยั่งเสียงให้บันลือลั่นอะกะนิฏฐะกา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุงฯ พระพรหมเหล่าชั้นพรหม อกนิฎฐกาพรหม ได้ฟังเสียง ก็หยั่งเสียงให้บันลือลั่น เอตัมฺภะคะวะตา พาราณะสิยัง อิสิปะตะเน มิคะทาเย อะนุตตะรัง ธัมฺมะจักฺกัง ปะวัตฺติตัง อัปฺปะฏิวัตฺติยัง สะมะเณนะ วา พฺราหฺมะเณนะ วา เทเวนะ วา มาเรนะ วา พฺรัหฺมุนา วา เกนะจิ วา โลกัสฺมินฺติว่านั้นจักร คือธรรม ไม่มีจักรอื่นสู้ได้ อันพระผู้มีพระภาคเจ้า ให้เป็นไปแล้ว ที่ป่าอิสิปตนะมฤคทายวัน ใกล้เมืองพาราณสี อันสมณพราหมณ์ เทพดา มาร พรหม และใครๆ ในโลกยังให้เป็นไปไม่ได้ ดังนี้ อิติหะ เตนะ ขะเณนะ เตนะ มุหุตฺเตนะ ยาวะ พฺรัหฺมะโลกา สัทฺโท อัพฺภุคฺคัจฺฉิฯโดยขณะครู่เดียวนั้น เสียงขึ้นไปถึงพรหมโลก ด้วยประการฉะนี้อะยัญฺจะ ทะสะสะหัสฺสี โลกะธาตุทั้งหมื่นโลกธาตุสังฺกัมฺปิ สัมฺปะกัมฺปิ สัมฺปะเวธิฯได้หวั่นไหวสะเทือนสะท้านลั่นไปอัปฺปะมาโณ จะ โอฬาโร โอภาโส โลเก ปาตุระโหสิทั้งแสงสว่างอันยิ่งไม่มีประมาณ ได้ปรากฏ แล้วในโลกอะติกฺกัมฺเมวะ เทวานัง เทวานุภาวังล่วงเทวานุภาพของเทพดาทั้งหลายเสียหมดอะถะโข ภะคะวา อุทานัง อุทาเนสิลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ทรงเปล่งอุทานว่าอัญญฺาสิ วะตะ โภ โกณฺฑัญฺโญ อัญญฺาสิ วะตะ โภ โกณฺฑัญฺโญ ติฯว่าโกณฑัญญะได้รู้แล้วหนอ ผู้เจริญ โกณฑัญญะได้รู้แล้วหนอ ผู้เจริญอิติหิทัง อายัสฺมะโต โกณฺฑัญฺญัสสะ อัญญฺาโกณฺฑัญฺโญ เตฺววะ นามัง อะโหสีติ.เพระเหตุนั้น นามว่า อัญญาโกณฑัญญะนี้นั่นเทียว ได้มีแล้วแก่พระผู้มีอายุโกณฑัญญะ ด้วยประการฉะนี้แล

วันพฤหัสบดีที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2552

ผักเป็ด

ผักเป็ด



ผักเป็ด
Alternanthera rosaefolia




ชื่อสามัญ Red Hygrohila
แหล่งกำเนิด อเมริกาใต้,แอฟริกา,เอเซีย
วัสดุปลูกกรวดล้าง
สภาพแสงแสงจัด
ค่า PHไม่จำกัด
ความกระด้างไม่จำกัด
อุณหภูมิน้ำ18-20 องศา


การตกแต่ง ใช้ปลูกประดับบริเวณกลางถึงหลังของตู้
การขยายพันธุ์ตัดลำต้นปักชำในแปลงดินหรือกรวดขนาดเล็กที่ชื้นแฉะ

ผักเป็ด (A. rosaefolia) เป็นพืชสกุลเดียวกันกับแข้งไก่ อยุ่ในวงศ์ Amaranthaceae เป็นพืชล้มลุก ใบเลี้ยงคู่ มีดอก มีเหง้าใต้ดิน ลำต้นแทงขึ้นมาเหนือดิน ใบรูปหอกสั้น ๆ หลังใบสีเขียว ใต้ใบมีสีน้ำตาลแดง ถึงชมพู เป็นพืชที่ต้องการแสงจัดจึงไม่ควรปลูกเป็นกลุ่มหนาแน่น เพราะจะทำให้ใบที่อยู่ด้านล่างได้รับแสงไม่เพียงพอ



ผักเป็ด
Alternanthera rosaefolia




ชื่อสามัญ Red Hygrohila
แหล่งกำเนิด อเมริกาใต้,แอฟริกา,เอเซีย
วัสดุปลูกกรวดล้าง
สภาพแสงแสงจัด
ค่า PHไม่จำกัด
ความกระด้างไม่จำกัด
อุณหภูมิน้ำ18-20 องศา


การตกแต่ง ใช้ปลูกประดับบริเวณกลางถึงหลังของตู้
การขยายพันธุ์ตัดลำต้นปักชำในแปลงดินหรือกรวดขนาดเล็กที่ชื้นแฉะ

ผักเป็ด (A. rosaefolia) เป็นพืชสกุลเดียวกันกับแข้งไก่ อยุ่ในวงศ์ Amaranthaceae เป็นพืชล้มลุก ใบเลี้ยงคู่ มีดอก มีเหง้าใต้ดิน ลำต้นแทงขึ้นมาเหนือดิน ใบรูปหอกสั้น ๆ หลังใบสีเขียว ใต้ใบมีสีน้ำตาลแดง ถึงชมพู เป็นพืชที่ต้องการแสงจัดจึงไม่ควรปลูกเป็นกลุ่มหนาแน่น เพราะจะทำให้ใบที่อยู่ด้านล่างได้รับแสงไม่เพียงพอ

วันอังคารที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2552

คาถากอบเวลาถูกพิษหนอนทุกชนิด

ขัวเขียว คัวเคียว กวางตัวเดียว เขาสองเขา ภาวะนาและกอบไปพร้อมกัน (หากหายให้เอากล้วยน้ำว้าไปวัด)

คาถามหาเสน่ห์

โอมศรีๆ ราศรีขึ้นที่ผ้านุ่งผ้าหม ขึ้นผมใส่มัน ฟันกินหมาก ปากวาจา ใครเห็นใครรัก ใครทักใครรัก
โอม ครู ครู สิตตากู สวาโหม(คาถามหาเสน่ห์)

จักขุจิตตัง จิตมลัง มหิมะ (เป่าใสสามี-หรือภรรยา)

นะเมตตา โมกรุณา พุทธปราณี ทายินดี ยะเอ็นดู บิดาค้ำชู มารดาป้องกัน พุทธังรวมจิต ธรรมธมังรวมใจ สังฆังหลงใหล(คาถาเมตตา)

ตะตะยายา พุทธธัง อี.........พันธนานัง แห่งข้าพเจ้า นายนี้นาย นัง กันนะ เอหิ (เสกน้ำให้กิน)

(เพิ่มราศรี ท่องเวลาล้างหน้า) มิระ ศะ ศิ ศะ ศิ มิ ระ


โปรดใช้วิจารญาน

นิทานใต้ นายดั้น

นายดั้นเนื้อเรื่องนิทานเรื่อง นายดั้น เขียนบันทึกลงในสมุดข่อย ต้นฉบับเป็นของวัดท่าเสริม อำเภอหัวไทร จังหวัดนครศรีธรรมราช ระยะเวลาที่แต่งนิทาน คงอยู่ในระยะรัชกาลที่ ๑ ถึงรัชกาลที่ ๓ แต่งด้วยกาพย์ ๓ ชนิดคือ กาพย์ยานี ๑๑ กาพย์ฉบัง ๑๖ และกาพย์สุรางคนาง ๒๘ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อความบันเทิง สวดอ่านนิทานในยามว่างนิทานเรื่องนายดั้น มีเนื้อเรื่องดังนี้นายดั้น เป็นคนตาบอดใส อยากได้นางริ้งไรเป็นภรรยา จึงส่งคนไปสู่ขอและนัดวันแต่ง โดยฝ่ายนางริ้งไรไม่รู้ว่าตาบอด เมื่อถึงวันแต่งงานนายดั้นพยายามกลบเกลื่อนความพิการของตนโดยใช้สติปัญญาและไหวพริบต่าง ๆ แก้ปัญหา เมื่อขบวนขันหมากมาถึงบ้านเจ้าสาว เจ้าภาพขึ้นบนบ้าน นายดั้นกลับนั่งตรงนอกชาน เมื่อคนทักนายดั้นจึงแก้ตัวว่า"ขอน้ำสักน้อย ล้างตีนเรียบร้อย จึงค่อยคลาไคล ทำดมทำเช็ด เสร็จแล้วด้วยไว แล้วจึงขึ้นไป ยอไหว้ซ้ายขวา"ขณะอยู่กินกับนางริ้งไร วันหนึ่งนางริ้งไรจัดสำรับไว้ให้แล้วลงไปทอผ้าใต้ถุนบ้าน นายดั้นเข้าครัวหาข้าวกินเองทำข้าวหกเรี่ยราดลงใต้ถุนครัว นางริ้งไรร้องทักว่าเทข้าวทำไม นานดั้นจึงแก้ตัวว่า"เป็ดไก่เล็กน้อยบ้างง่อยบ้างพลีย ตัวผู้ตัวเมีย ผอมไปสิ้นที่ อกเหมือนคมพร้า แต่เพียงเรามา มีขึ้นดิบดี หว่านลงทุกวัน ชิงกันอึ่งมี่ กลับว่าเรานี้ ขึ้งโกรธโกรธา"วันหนึ่งนางริ้งไรให้นายดั้นไปไถนา นายดั้นบังคับวัวไม่ได้ วัวหักแอกหักไถหนีเตลิดไป นายดั้นจึงเที่ยวตามวัว ได้ยินเสียงลมพัดใบไม้แห้งชายป่า เข้าใจว่าเป็นวัว จึงวิดน้ำเข้าใส่เพื่อให้วัวเชื่อง นางริ้งไรมาเห็นเข้าจึงถามว่าทำอะไร นายดั้นได้แก้ตัวว่า"พี่เดินไปตามวัว ปะรังแตนแล่นไม่ทัน จะเอาไฟหาไม่ไฟ วิดน้ำใส่ตายเหมือนกัน ครั้นแม่บินออกพลัน เอารังมันจมน้ำเสีย"อยู่มาวันหนึ่งนายดั้นจะกินหมาก แต่ในเชี่ยนหมากไม่มีปูน จึงร้องถามนางริ้งไร นางบอกที่วางปูนให้ แต่นายดั้นหาไม่พบ ได้ร้องถามอีกหลายครั้งแต่ก็ยังหาไม่พบ นายดั้นจึงร้องท้าให้นางริ้งไรขึ้นบ้านมาดู หากปูนมีตามที่บอก จะยอมให้นางริ้งไรเอาปูนมาทาขยี้ตานางริ้งไรจึงเอาปูนมาทาขยี้ตานายดั้นนายดั้นถือโอกาสจึงร้องบอกว่าตาบอดเพราะปูนทานางริ้งไรจึงต้องหายามารักษาจนตาหายบอดได้บวชเรียนคติ / แนวคิดนิทานเรื่องนายดั้น ให้แนวคิดดังนี้๑. สะท้อนภาพของสังคมชนบทนครศรีธรรมราช ที่ชาวบ้านยึดถือความมีน้ำใจต่อกัน คอยช่วยเหลือกันโดยไม่เห็นแก่ความเหน็ดเหนื่อย๒.ลักษณะความเป็นอยู่ของชาวบ้านในชนบทที่เน้นความเรียบง่ายไม่มีพิธีรีตองให้ยุ่งยากถือเอาความสะดวกง่ายเป็นหลักมีการเล่นหัวหยอกล้อกันโดยไม่ถือสา๓. ผู้มีปัญหาและปฏิภาณไหวพริบดี จะเป็นผู้ที่สามารถแก้ไขปัญหาต่าง ๆได้สำเร็จแม้จะประกอบกิจการงานใดก็จะสำเร็จด้วยดี

ไม่ผิดหรอกถ้าจำต้องถอย ล่าถอยกลับไปตั้งหลัก ถึงถอยอย่างนกปีกหัก เพื่อผ่อนพักฟูมฟักรักษาตัว เอาศิลธรรมไว้คอยยึดเหนี่ยว เอาความดีลบล้างความชั่ว เอาความกล้า ชนะความกลัว ไว้ต่อสู้เพื่อตัวของตัวเอง

ฤาษีนกเค็ด

ปรัชญาหนังตะลุง : ฤาษีธรรมกับฤาษีนกเค็ด
ฤาษีธรรมกับฤาษีนกเค็ด
ฤาษี จัดเป็นตัวละครสำคัญในหนังตะลุงซึ่งจะต้องมี หนังตะลุงหลังจากโหมโรงแล้วก็จะออกฤาษี หรือเชิดฤาษีก่อน เพื่อแสดงการกราบไหว้สิ่งศักดิ์ต่างๆ เช่น พระรัตนตรัย เทวดา เจ้าที่เจ้าทาง เป็นต้น ...
อีกอย่างหนึ่ง การอัญเชิญฤาษีออกมาก็เพื่อสยบสิ่งต่างๆ ที่อาจพึงมีในการแสดงต่อไป จากผู้ไม่หวังดีที่อาจใช้ไสยเวทย์ มนต์ดำ มาทำลาย รบกวน หรือหยอกล้อ ทำให้การแสดงไม่ราบรื่น ได้ ...ซึ่งปรกตินายหนังเอง มักจะมีคาถา หรือรู้ไสยเวทย์พื้นฐาน เพื่อป้องกันสิ่งเหล่านี้ด้วย...
อันที่จริง ฤาษี นั่นคือ นักพรต หรือ นักบวช มิใช่พระสงฆ์ ... แต่ในการดำเนินตามท้องเรื่อง ฤาษีก็คือเจ้าอาวาสวัด ผู้เป็นอาจารย์สอนบรรดาศิษย์ผู้อยู่ภายในสำนัก ...ซึ่งในกรณีนี้ อาจมองได้ว่าโบราณ มิกล้านำ พระสงฆ์ มาแสดงเป็นตัวละครโดยตรง เพราะเกรงกลัวบาป จึงต้องใช้ ฤาษี แทน ...
ฤาษีในหนังตะลุง จะจำแนกเป็น ๒ ประเภท คือ ฤาษีธรรม กับ ฤาษีนกเค็ด ....(แม้ในหนังตะลุงบางเรื่องอาจมีฤาษีหลายตนก็ตาม แต่ก็จะจำแนกเป็นฤาษีธรรมหรืฤาษีนกเค็ดอย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น)..
ฤาษีธรรม คือ พระอาจารย์ของฝ่ายพระเอกหรือนางเอก จะสอนวิชาธัมมธัมโม สอนคนให้เป็นคนดี มีศีล มีคุณธรรม... และฤาษีธรรมจะมีฤทธิ์ มีวิชาไสยเวทย์ มนต์ดำ มีของดี หรือเครื่องรางของขลัง ให้ลูกศิษย์ไว้ใช้หรือป้องกันตัวด้วย...
ฤาษีนกเค็ด คือ อาจารย์ของฝ่ายผู้ร้ายหรือบางครั้งก็เป็นอาจารย์ของพวกยักษ์... ฤาษีนกเค็ดนี้ ไม่ตั้งอยู่ในศีลในธรรม เช่น ชอบกินเหล้า หรือเรื่องลามกต่างๆ เป็นต้น ...แต่ก็จะมีฤทธิ์และสิ่งอื่นๆ เช่นเดียวกับฤาษีธรรม...
วิชาของฤาษีธรรมจะเหนือกว่าของฤาษีนกเค็ด ข้อนี้บ่งชี้ให้เห็นว่า ธรรมะย่อมชนะอธรรม เสมอ
ในการที่หนังตะลุงจำแนกฤาษีออกเป็น ๒ ประเภท นี้ อาจสะท้อนความเป็นจริงได้ว่า นักบวช นักพรต ก็มีทั้งพวกตั้งอยู่ในศีลในธรรมและพวกประพฤตินอกรีตนอกรอย ...และอาจารย์มักจะสอนศิษย์ตามมุมมองหรือความคิดเห็นของตัวเอง ...
บรรดาศิษย์ก็เช่นเดียวกัน ถ้าไปอยู่กับฤาษีธรรมก็เป็นคนดี ...ถ้าไปอยู่กับฤาษีนกเค็ดก็จะเป็นคนชั่ว ....ข้อนี้เป็นการสะท้อนการคบคนหรือการเข้าสังคมอย่างหนึ่ง ...ดังพระบาลีว่า..
ยํ เว เสวติ ตาทิโส คบคนเช่นใดก็เป็นคนเช่นนั้นแล