วันพฤหัสบดีที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2552

สูตรคั้วกลิ้ง

สูตรคั่วกลิ้ง
สูตรคั่วกลิ้ง

1. เนื้อ 500 กรัม
2. กระเทียม 3 กรีบ
3. หอมแดง 4 หัว
4. ข่า ผ่าเป็นแว่น 4 แว่น
5. ตะใคร้ 3 ต้น
6. กะปิ 1 ช้อนชา
7. ผิวมะกรูดซอย 1 ช้อนชา (ลืมใบมะกรูดหั่นฝอยค่ะ)
8. พริกแห้งซักน้องๆ กำมือ (ตรงนี้ก็ลดๆได้ตามใจชอบค่ะ)
9. ขมิ้นแว่น 4 แว่น รึประมาณข้อนิ้วก้อย
10. พริกไทย
11. กะทิ น้ำปลา น้ำตาล
12. มาเพิ่มกุ้งแห้งค่ะ ซักหนึ่งกำมือ
แกงคั่วกลิ้งสันคอหมู ที่ใช้สันคอหมูเพราะเป็นส่วนที่นุ่ม ไม่เหนียว ปรุงไม่นานเนื้อก็นุ่มแล้วค่ะ ง่ายต่อแม่บ้านที่รีบทำทานในครอบครัว หรือจะเป็นอาหารจานเดียวก็ได้ค่ะ ดิฉันเลยเอาสูตรการทำแกงคั่วกลิ้งเนื้อสันคอหมูมาฝากเพื่อนๆ ค่ะ เรามาเตรียมเครื่องปรุงกันก่อนนะคะ
เครื่องปรุง
- เนื้อสันคอหมูหั่นเป็นชิ้นพอดีคำ 3 ขีด
- ใบมะกรูด 10 ใบ ซอยให้เป็นสิ้นเล็กๆ ที่สุด
- ตะใคร้ 2 ต้น ซอยให้บางๆ
- พริกไทยอ่อน (เม็ดยังเขียวๆ) ประมาณ 20-30 เม็ด
- ซีอิ้วขาวเห็ดหอม
- น้ำตาลทราย
- เครื่องแกงคั่วกลิ้ง ประกอบด้วย
1. พริกขี้หนูแห้ง 15 เม็ด
2. พริกขี้หนูสด 10 เม็ด
3. ตะใคร้ซอย 1 ต้น
4. หอมแดง 2 หัว
5. กระเทียม 8 กลีบ
6. พริกไทยดำ 20 เม็ด
7. ขมิ้นซอย 1 ช้อนโต๊ะ
8. เมล็ดผักชี ครึ่งช้อนโต๊ะ
9. ข่าซอย ครึ่งช้อนโต๊ะ
10. เกลือป่น 1 ช้อนกาแฟ
11. กะปิ 1 ช้อนชา
เอา 1-10 ใส่ครกโขลกให้ละเอียด ทุกอย่างละเอียดแล้วใส่ 11 ลงไป หรือว่าซื้อเครื่องแกงคั่วกลิ้งจากตลาดก็ได้สักประมาณ 1 ขีด
วิธีทำ
- ใส่น้ำมัน 1 ช้อนโต๊ะ
- ใส่เครื่องแกงลงไปผัดให้หอม เติมน้ำเล็กน้อย รอให้น้ำแกงเดือดจนเครื่องแกงละลายหมด
- ใส่เนื้อสันคอหมูลงไปผัดในเครื่องแกงจนเนื้อหมูสุก ปรุงรสด้วย ซีอิ้วขาว น้ำตาลทราย
- ใส่พริกไทยอ่อน ตะใครซอย ใบมะกรูดซอย ลงไปผัดให้เข้ากันเหลือน้ำขลุกขลิก
- ตักใส่จานพร้อมเสิร์ฟ รับประทานกับข้าวร้อนๆ ตามด้วยผักเหนาะ สะตอ แตงกวา หรอยจังหู!
Tags: สูตรแกงคั่วกลิ้ง, อาหารปักษ์ใต้, เมนูคั่วกลิ้ง
Publié dans อาหารประเภทแกง | Aucun commentaire »

วันพุธที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2552

วิธีสังเกตุมะเร็ง

- รักษ์ภาษาไทย ใช้ให้ถูกหลัก -วิธีสังเกตอาการเบื้องต้นของมะเร็งชนิด ต่างๆ
อาการของ การเกิดมะเร็งในอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกาย
1. มะเร็งปากมดลูก อาการ มีเลือดออกจากช่องคลอดทั้ง ๆ ที่ไม่ใช่เวลารอบเดือนปกติของคุณอาการเจ็บปวดและมีเลือดออกหลังจากมีเพศ สัมพันธ์ หากพบว่ามีสิ่งเหล่านี้เกิดขึ้น การตรวจโดยขูด เนื้อเยื่อจากบริเวณดังกล่าวไปตรวจด้วยกล้องจุลทรรศน์จะรู้ ได้
2. มะเร็งในมดลูก อาการ มีเลือดออกหลังการมีเพศสัมพันธ์ หรือบางครั้งอาจมีความรู้สึกว่ามีก้อนเนื้อหรือมีอาการบวมในช่องท้อง
3. มะเร็งรังไข่ อาการ ประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ หรือการมีอาการเจ็บปวดหลังการมีเพศสัมพันธ์ มีปัญหาเกี่ยวกับลำไส้อาการท้องอืดอาหารไม่ย่อย น้ำหนักลดและมีอาการปวดหลัง
4. มะเร็งในเม็ดเลือด ( ลูคีเมีย) อาการเหนื่อยง่ายและมีอาการซีดเซียวกว่าปกติมักเกิดอาการฟกช้ำดำเขียว หรือมีเลือดออกทางผิวหนังได้ง่ายโดยไม่ทราบสาเหตุและมักจะเกิดร่วมกับอาการปวดตามข้อต่าง ๆ ทั่วร่างกายบางครั้งจะท้องอืดและเมื่อคลำดูจะพบว่ามีก้อนบวมที่ด้านซ้ายของ ช่องท้อง
5. มะเร็งปอด อาการ มักมีอาการไอบ่อย ๆ มีเลือดออกและมีเสมหะปนมากับน้ำลายน้ำ หนักลดอย่างฮวบฮาบ เจ็บ หน้าอกและหายใจลำบากหรืออาจมีอาการหอบปนอยู่ด้วยทั้ง ๆ ที่ไม่เคยเป็นมาก่อน
6. มะเร็งตับ อาการปวดในช่องท้อง เบื่ออาหาร น้ำหนักลดตาและผิวเป็นสีออกเหลืองและเหลืองจัดจนเห็นได้ชัด
7. มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ อาการ มีเลือดปนออกมากับปัสสาวะ
8. มะเร็งสมอง อาการ ปวดศีรษะนาน ๆ และมักมีอาการอื่นร่วมด้วยเช่นอาเจียนหรือการผิดปกติของการมองเห็น ตาพร่า และเห็นแสงเขียว ๆ แดง ๆ ลอยไปมาเวลาปวดศีรษะ อ่อนเพลียไม่มีแรง หรือ การเป็นลมโดยกะทันหันอวัยวะบางส่วนของร่างกายหยุดทำงานเช่นมีอาการชาและเป็น อัมพาตชั่วคราวควรให้ความระวังเป็นพิเศษหากคุณเคยมีประวัติการปวดหัวที่มีอาการ เหล่านี้ประกอบอยู่ด้วย
9. มะเร็งในช่องปาก อาการ มีก้อนบวมอยู่ในปาก หรือทีลิ้นเป็นเวลานานมีแผลเปื่อยที่ปากที่ไม่ได้รับการรักษา หรือเป็นแผลเรื้อรังที่เหงือกเนื่องจากการกดทับของฟันปลอมที่ใส่ไว้ประจำหรือ เป็นเวลานาน
10. มะเร็งในลำคอ อาการ เสียงแหบพร่าไปทันที มีก้อนบวมในทันทีทำให้รู้สึกว่ากลืนอาหารได้ลำบาก หรือมีการขยายตัวของต่อมในลำคอที่โตขึ้นจนสามารถจับและรู้สึก ได้
11. มะเร็งในกระเพาะอาหาร อาการน้ำหนักลดลงอย่างรวดเร็วอาเจียนออกมาเป็นเลือดท้องอืดหรืออาหารไม่ย่อย บ่อย รู้สึกเหมือนมีก้อนเนื้องอกในช่องท้องหรือรู้สึกตื้อ แม้เพิ่งจะรับประทานอาหารไปได้ไม่กี่คำ
12. มะเร็งทรวงอก อาการมีเลือดหรือของเหลวบางอย่างไหลออกมาจากหัวนมบวมหรือผิวเนื้อทรวงอกหนา ขึ้นมีก้อนบวมจนจับได้เมื่อคลำบริเวณใต้รักแร้บางครั้งอาจมีตุ่มหรือสิวเกิด ขึ้น ที่เต้านมเป็นเวลานานควรระวังเพราะผู้หญิง 9 ใน 10 คนจะมีอาการบวมของก้อนเนื้อบริเวณทรวงอกโดยไม่ทราบสาเหตุเมื่อมีอายุมากขึ้น เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนทำให้เกิดเป็นถุงน้ำใต้ผิวหนังที่เรียกว่า ซีสต์ซึ่งควรต้องค้นหาสาเหตุของอาการบวมนั้นให้ชัดเจนเสียก่อนว่าคืออะไรกัน แน่
13. มะเร็งลำไส้ อาการ น้ำหนักลดลงอย่างรวดเร็วมีอาการปวดท้องอย่างมากและระบบการย่อยผิดปกติ มีเลือดออกปนมากับอุจจาระ
**** ซึ่ง มีวิธีสังเกตของผู้ที่มีอาการเกี่ยวกับริดสีดวงทวารอยู่แล้วคือถ้าใช้กระดาษทิชชูซับแล้วเลือดมีสีแดงสดนั่นคืออาการของริดสีดวงทวารแต่ถ้าเลือดมีสีดำคล้ำนั่น คือ อาการของโรคมะเร็งในลำไส้
14. มะเร็งต่อมน้ำเหลือง อาการมีก้อนบวมเกิดขึ้นที่ใต้รักแร้หรือใต้ขาหนีบโดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าไม่ได้ เกิดอาการติดเชื้อในบาง ส่วนของร่างกายมะเร็งผิวหนัง อาการมีแผลหรือแผลเปื่อยพุพองที่ไม่ได้รับการรักษาอยู่เป็นเวลานานตลอดจนไฝ หรือหูดที่โตขึ้นและมีการเปลี่ยนสีหรือรูปร่าง ขนาด นอกจากนี้อาการอันตรายอีกอย่างหนึ่งที่ เรียกว่าเมลาโนมา ( Melanoma ) คือ เนื้อ งอกที่ประกอบด้วยเซลล์ที่มีเมลานินสะสมอยู่ เช่น กระจุดด่างหรือไฝถ้าคุณมีไฝมากกว่า 50 เม็ดทั่วร่างกายหรือมีคนในครอบครัวที่มีประวัติ
ถึงท่าน ผู้โชคดี ขอให้ท่านนำเรื่องนี้ไปบอกต่อเป็นวิทยาทาน ท่านจะโชคดีมีความสุขตลอดกาล

การเพาะเห็ดฟางโดยใช้ทะลายปาล์มน้ำมัน

เห็ดฟางเป็นเห็ดที่คนไทยรู้จักกันมานาน เป็นเห็ดชนิดแรกที่มีการทดลองเพาะใน
ประเทศไทยเป็นเห็ดที่เพาะง่าย ใช้ระยะเวลาในการเพาะสั้นกว่าเห็ดชนิดอื่น โดยใช้ระยะเวลาเพียง 10-12 วัน ก็สามารถเก็บผลผลิตได้ การเพาะเห็ดฟางสมัยก่อนใช้ซังข้าวหรือตอซังในการเพาะ
แต่ในปัจจุบันการเพาะเห็ดฟางสามารถใช้วัสดุเพาะได้หลายชนิด เช่น เปลือกถั่วเขียว
กากมันสำปะหลัง ผักตบชวา ชานอ้อย ขี้เลื่อยไม้ยางพารา และทะลายปาล์มน้ำมันก็เป็นวัสดุชนิดหนึ่งที่นิยมใช้มาก ในปัจจุบันที่สามารถนำมาเพาะเห็ดฟางได้ดีไม่แพ้กับการเพาะด้วยฟางข้าว
ความสำคัญของเห็ดฟาง
1. เห็ดฟางเป็นพืชผักที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง อุดมไปด้วยโปรตีน เกลือ แร่และวิตามินต่าง ๆเป็นอาหารที่เหมาะสมสำหรับผู้ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงและมีสารต่อต้านการเกิดโรคเร็ง
2. วัสดุเพาะหาได้ง่ายและใช้ได้หลายชนิด ใช้ระยะเวลาเพาะสั้น
3. เห็ดฟางสามารถเพาะเป็นอาชีพเสริมรายได้และสามารถเพาะเป็นอาชีพหลัก
เลี้ยงครอบครัวได้
สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมกับการเพาะเห็ดฟาง
1. อุณหภูมิ อุณหภูมิมีอิทธิพลต่อการเจริญเติบโตของเห็ดฟางโ ดยเห็ดฟางต้องการ
อุณหภูมิสำหรับการเจริญเติบโตของเส้นใยระหว่าง 35-38 องศาเซลเซียส และอุณหภูมิสำหรับการออกดอกระหว่าง 28-32 องศาเซลเซียส ถ้าอุณหภูมิต่ำเกินไป เส้นใยเห็ดเจริญช้าและถ้ามีการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิเร็วเกินไป จะมีผลต่อรูปร่างลักษณะของดอกเห็ด
2. ความชื้น เห็ดฟางต้องการความชื้นค่อนข้างสูง คือความชื้นในอากาศประมาณ 80-90 เปอร์เซนต์และความชื้นในวัสดุเพาะ 60-70 เปอร์เซ็นต์
3. อากาศ ระยะการพัฒนาเป็นดอกที่สมบูรณ์ต้องการอากาศสูงมากควรเปิดช่องระบายอากาศบริสุทธิ์เข้าไป และระบายอากาศเสียความชื้นที่มากเกินไปออกจากแปลงเพาะ
4. แสงสว่าง ควรควบคุมแสงให้ผ่านเข้าไปเพียงเล็กน้อย เพราะแสงมีอิทธิพล ต่อสีของดอกเห็ดคือถ้าได้รับแสงมากเกินไปดอกเห็ดจะมีสีคล้ำไม่เป็นทีนิยมของผู้บริโภค
5. ความเป็นกรด-ด่างของดิน ถ้าดินเป็นกรด-ด่างมากเห็ดจะให้ผลผลิตต่ำการออกดอกไม่ดี เห็ดฟางเจริญและให้ผลผลิตดีในช่วงค่าความเป็นกรดด่าง ประมาณ
7.2 - 8.0

6. ความต้องการธาตุอาหาร สารอาหารที่ทำให้เร่งการเจริญเติบโต ได้แก่แป้ง กลูโกส น้ำตาล ซูโครส

การเพาะเห็ดฟางแบบกลางแจ้ง
วัสดุ - อุปกรณ์การเพาะ
1. เชื้อเห็ดฟาง เชื้อเห็ดที่ได้ต้องไม่อ่อนหรือแก่เกินไป โดยสังเกตุจากเส้นใย
กล่าวคือ ถ้าเส้นใยเดินไม่เต็มก้อน แสดว่าเชื้อยังอ่อนต้องรอให้เส้นใยเดินเต็มก้อนเชื้อและกลิ่นหอมคล้ายดเห็ด ไม่มีเชื้อราอื่นปน แต่ถ้าเชื้อแก่เส้นใยจะเป็นสีน้ำตาล หรือชมพูอ่อนหรือเกิดเป็นตุ่มดอกในก้อนเชื้อ ถ้าเชื้อได้มาจากการต่อเชื้อมามากช่วงแล้วดอกเห็ดที่ได้จะมีขนาดเล็ก
โตเร็วบานเร็ว
2. วัสดุเพาะ ได้แก่ กากทะลายปาล์มน้ำมันที่ได้สกัดเอาผลออกแล้วเป็นกากทะลายปาล์มที่ใหม่ ไม่มีเชื้อราอื่นปะปน

3. แบบพิมพ์ เป็นแบบไม้รูสี่เหลี่ยมคางหมู คือ มีขนาดด้านล่างกว้างประมาณ
40 ซม. ด้านบนกว้าง 30 ซม. สูง 30 ซม.และยาว 100 ซม. มีมือจับด้านหัวท้าย

4. อาหารเสริม ได้แก่ รำละเอียด ไส้นุ่น มูลสัตว์ที่ย่อยสลายตัวแล้ว เช่น มูลวัว
ถ้าเป็นมูลไก่ต้องผสมดินร่วนอัตราส่วน 2: 1

5. น้ำ ต้องเป็นน้ำสะอาดปราศจากคลอรีน กลิ่นไม่เน่าเหม็น ไม่เป็นน้ำเค็มหรือ
น้ำกร่อย
6. อุปกรณ์การให้น้ำ ถังน้ำ บัวรดน้ำ หรือถังน้ำ 200 ลิตร (สำหรับแช่ทะลายปาล์ม) เป็นต้น
7. อุปกรณ์การเตรียมดิน เช่น จอบ คราด มีดพร้า เป็นต้น
8. อุปกรณ์การคลุมกองเห็ด ได้แก่ พลาสติก ไม้ไผ่ เศษฟาง ทางมะพร้าว
กระสอบปุ๋ย เป็นต้น
9. ปูนขาว ใช้โรย พื้นดินเพื่อปรับความเป็นกรด - เป็นด่าง ของดิน
ขั้นตอนการเพาะเห็ดฟาง
การเพาะเห็ดฟางโดยใช้กากทะลายปาล์มน้ำมัน มีวิธีการเพาะ 2 แบบด้วยกัน คือ
1. การเพาะโดยใช้แบบพิมพ์
2. การเพาะโดยไม่ใช้แบบพิมพ์
การเพาะโดยใช้แบบพิมพ์ มีขั้นตอน ดังนี้
1. การเตรียมพื้นที่ พื้นที่จะใช้เพาะเห็ดฟางไม่ควรเป็นกลางแจ้งมากนัก และไม่เป็นที่ลุ่ม น้ำท่วมขัง การเตรียมพื้นที่โดยการกำจัดวัชพืชแล้วขุดพลิกดินยกเป็น
แปลง สูงประมาณ 5-10 ซม. กว้าง 1.50 - 2.0 เมตร ยาวตามขนาดของพื้นที่ จากนั้นใช้ปูนขาวโรยบาง ๆ



2. นำกาทะลายปาล์มน้ำมัน มาหมักรดน้ำให้เปียกประมาณ 1 ชั่วโมงครึ่งวันละ
ครั้ง เสร็จแล้วให้ใช้พลาสติกสีดคลุมให้มิดชิด ทำอย่างนี้ประมาณ 4 วันแล้วคลุมพลาสติกทิ้งไว้อีก 12-15 วัน หรือใช้วิธีวิธีแช่น้ำในถังหมัก หรือใช้ถัง ลิตร แช่หมักจนกระทั่งสังเกตว่า ไม่มีฟองอากาศ จึงนำไปใช้เพาะ
3. นำกากทะลายปาล์มใส่ลงในพิมพ์ ใช้ทะลายเล็กหรือฝอยอัดด้านข้างให้แน่พอสมควร
4. โรยอาหารเสริม มูลวัว มูลไก่ผสมดินร่วน โดยห่างจากขอบพิมพ์ประมาณ
1 ฝ่ามือ แล้วรดน้ำให้เปียก
5. นำเชื้อเห็ดฟางมาขยี้ให้ร่วนพร้อมกับผสมรำละเอียดเล็กน้อย หรืออาหารเสริม
สำเร็จรูป หรือไม่ผสมก็ได้ นำไปโรยทับบนอาหารเสริมจะได้เป็นกองเห็ดชั้นที่ 1

6. ทำการเพาะเห็ดชั้นที่ 2และ 3 ต่อไป โดยใช้เฉพาะทะลายที่เป็นฝอยเท่านั้น จาก
จากนั้นให้ยกพิมพ์ออก
7. ทำการเพาะกองต่อไป โดยให้ห่างจากกองแรกประมาณ 3-12 นิ้วเพาะต่อไป
จนได้ 8-10 กอง
8. โรยอาหารเสริมระหว่างกองแล้วรดน้ำและโรยเชื้อเห็ดฟางเล็กน้อย
เพื่อให้เห็ดขึ้นบนดินด้วย
9. นำไม้ไผ่ผ่าซีกปักโค้ง โดยอาจปักกองเว้นกองเพื่อรองรับพลาสติก จากนั้นใช้
พลาสติกปิดทับบนไม้ไผ่ ใช้ก้อนดิน หิน หรือไม้ทับขอบพลาสติก เพื่อป้องกัน
ลมพัดเปิดพลาสติก และใช้ทางมะพร้าว กระสอบปุ๋ยปิดพลาสติกอีกครั้งเพื่อบัง
แสงในกรณีที่กองเห็ดได้รับแสงมากเกินไป
การเพาะโดยไม่ใช้แบบพิมพ์
1. การเตรียมพื้นที่ เตรียมเหมือนกับการเพาะโดยใช้แบบพิมพ์เพาะ
2.นำทะลายปาล์มมากองเป็นแถวยาว โดยใช้ทะลายปาล์มที่ผ่านการหมักย่อยสลาย
ประมาณ 3 แถว เรียงติดกัน เป็น 1 กอง (จำนวน 9 ทะลาย)ใช้ฝอยปาล์มอัดทับ
บนทะลาย จากนั้นรดน้ำให้ชุ่ม
3. เตรียมเชื้อเห็ดฟาง เหมือนกับการเพาะแบบใช้พิมพ์
4. ใช้อาหารเสริมโรยทับทะลายปาล์ม เช่น มูลวัว มูลไก่ (ถ้าเป็นมูลไก่ต้องผสม
อัตราดินร่วนส่วน 1: 1) และโรยบนดินด้วย รดน้ำให้ชุ่มอีกครั้ง
5. โรยเชื้อเห็ดฟางลงไป ทั้งบนทะลายปาล์มและบนดิน
6. ปักไม่ไผ่โค้ง (ขนาดยาว 2 เมตร) เป็นโครงรองรับแผ่นผ้าพลาสติก

7. คลุมด้วยผ้าพลาสติก ทับชายพลาสติกด้วยดิน หิน หรือไม้
การดูแลรักษา
1. การระบายความร้อน หลังจากเพาะเห็ดแล้ว 4-5 วัน ให้เปิดชายพลาสติก
ออกบ้างเพื่อระบายความร้อนออกจากกองเห็ดบ้าง เพราะถ้าอากาศร้อนเกินไปเส้นใยเห็ดจะไม่รวมตัวเป็นดอก นอกจากช่วยระบายความร้อนแล้วยังเป็นการเพิ่มอากาศให้กับเห็ดอีกด้วย
2. การให้น้ำ ถ้าความชื้นในกองเห็ดต่ำ โดยเฉพาะการเพาะเห็ดแบบไม่ใช้ แบบ
ไม่ใช้พิมพ์ ถ้าไม่มีการแช่ทะลายปาล์ม ความชื้นในกองเพาะมักจะน้อยโดยสังเกตจากไอน้ำที่
เกาะอยู่ที่พลาสติกจะมีอยู่น้อยต้องให้น้ำโดยการพ่นเป็นฝอยหรือรดน้ำที่ดินรอบ ๆกองเห็ด
ห้ามรดลงบนกองเพาะเห็ด
3. การป้องกันกำจัดศัตรูเห็ดฟาง ถ้ามีศัตรูเห็ดฟางเข้าทำลายเห็ดฟางในขณะที่เพาะเห็ดไม่แนะนำให้ใช้สารเคมีใด ๆ ในการกำจัด ให้ใช้วิธีการป้องกันหรือหลีกเลี่ยง
โรคเห็ดฟาง
1. โรคราเมล็ดผักกาด เกิดกับเห็ดฟางที่ใช้วัสดุเพาะเก่าเก็บค้างปี ลักษณะที่พบคือเส้นใยขอเชื้อรามีลักษณะหนากว่าเส้นใยของเห็ดฟาง เริ่มเกิดในวันที่ 3 และ 4ของการเพาะเห็ดและเจริญเติบโตรวดเร็ว ต่อมาจะเกิดเส้นใยแผ่ขยายออกไป มีลักษณะเป็นวงกลม โดยเฉพาะที่หลังกองเมื่อเส้นใยมีอายุมากขึ้น จะสร้างส่วนขยายพันธุ์รูปร่างวงกลม สีขาวอ่อน และเมื่อแก่มีลักษณะคล้ายเมล็ดผักกาด จึงได้ชื่อว่า ราเมล็ดผักกาด ซึ่งเชื้อรานี้มักเกิดเป็นหย่อม ไม่กระจายไปทั้งแปลงแต่ทำลายเส้นใย ของเห็ดโดยตรง ทำให้เห็ดมีลักษณะอ่อนนิ่มกว่าดอกปกติ
2. เป็นเชื้อราที่อาศัยอยู่ในดินหรืออยู่ในอากาศก็ได้ เมื่อดินหรือวัสดุเพาะขึ้นราเขียวเป็นราที่สร้างสปอร์เมื่อมีตวามชื้นเหมาะสม จึงเจริญเติบโตขยายพันธุ์ระบาดแข่งขันทำให้เชื้อเห็ดฟางบริเวณที่มีราเขียวเจริญไม่ทัน ทำลายดอกเห็ดอ่อน ๆได้ ขณะเส้นใยอ่อนมีลักษณะเป็นสีขาวเส้นใยบาง ๆ
3. ราเห็ดหมึก หรือเห็ดขี้ม้า เกิดจากการหมักฟางไม่ได้ที่ มีแกสแอมโมเนียเหลืออยู่
หรือเกิดจากการใช้ฟางเก่าหรือวัสดุเพาะที่มี่เชื้อเห็ดหมึกอยู่ หรืออาจเกิดจากกองเพาะเห็ดร้อนและแฉะเกินไป เมื่อคลุมพลาสติกไว้จึงมีลักษณะเหมือนกับเกิดการหมักขึ้น
ปัญหาที่ทำให้เห็ดไม่ออกดอก
ปัญหา สาเหตุ การแก้ไข
1.เส้นใยไม่เดิน - กองเพาะและเกินไป
- กองเพาะแน่นเกินไป
- หัวเชื้ออ่อน
- หัวเชื้อแก่เกินไป
- หัวเชื้อหมดอายุ
- อุณหภูมิในกองเพาะ
หรือในโรงเรือนสูง
หรือต่ำเกินไป กองเพาะมีเชื้อรา
- ปนเปื้อนหลายชนิด
- ฟางเก่าเกินไป

- หัวเชื้อหมดอายุ
- เพาะต่อดอกหลายครั้ง

- หัวเชื้ออ่อนเกินไป อัดกองเพราะหลวมเกินไปทำให้ดอกเห็ดที่ออกมาเหี่ยว

- เกิดเชื้อบักเตรีเข้าทำลายดอกเห็ดอ่อน ดอกเห็ดได้รับการกระทบกระเทือนขณะเก็บ
รดน้ำดอกเห็ดขณะกำลังตูม แช่ฟางนานเพียงแค่ดูดน้ำอิ่มตัวอย่าแช่นานเกินไป อัดฟางให้พอดี ๆอย่าอัดจนแน่น ซื้อหัวเชื้อ
จากแหลางที่เชื่อถือได้ เลือกหัวเชื้อคุณภาพดี
ถ้าเป็นเห็ดฟางกองเตี้ยให้เปิดผ้าพลาสติกระบายอากาศในกรณีที่อากาศร้อนและทำแปลง
ชิดกันในหน้าหนาว ควรใช้ฟางใหม่ ไม่ควรเพาะช้ำที่
เลือกซื้อหัวเชื้อคุณภาพดีจากแหล่งที่เชื้อถือได้
อัดกองเพาะให้แน่นขึ้น ขณะเตรียมแปลงไม่
ควรรดน้ำขณะเกิดดอกอ่อน
รักษาความสะอาดของแปลงเพาะ
เก็บดอกเห็ดให้ถูกวิธีและระมัดระวัง

ควรโชยน้ำเล็กน้อยเพื่อให้ความชื้นแปลงเพาะ
2.เส้นใยเดินแต่ไม่ออกดอก

3.เกิดดอกเห็ดเล็ก ๆ
แต่ภายหลังเกิดดอกฝ่อ


4.ดอกเห็ดนิ่มและเน่า

ศัตรูเห็ดฟาง
1. ไร จะพบระบาดมากในฤดูฝน ไรจะทำลายในระยะที่เส้นใยเห็ดกำลังแผ่ขยายออกทำ
ให้เส้นใยเห็ดขาดออกจากกันไม่สามารถฟอร์มดอกและเจริญต่อไป กำจัดโดยใช้ยาฉุน 1 ซอง (ใหญ่) แช่น้ำ 1 ลิตร นาน 12 ชั่วโมงฉีดพ่น
2. ปลวก มด แมลงสาบ จะเข้าไปทำรังหริอเข้าไปทำลายเส้นใยเห็ดและกัดกินดอกเห็ด
การเพาะให้เลือกพื้นที่ไม่มีปลวก แมลง รบกวน
การป้องกันกำจัดศัตรูเห็ดฟาง
การที่ระยะเวลาตั้งแต่เริ่มเพาะจนถึงสิ้นสุดการเก็บผลผลิตเห็ดฟาง มีเพียง 10 - 12 วันเท่านั้น จึงเป็นเหตุผลอันหนึ่งที่ไม่มีการใช้ยาเคมีในพืชผักชนิดนี้ ดังนั้นวิธีการสำคัญในการป้องกันกำจัดศัตรูเห็ดฟาง คือวิธีการรักษาความสะอาดและการปฏิบัติดูแลรักษาอย่างสม่ำเสมอและการเอาใจใส่ใกล้ชิด ดังนี้
1. เลือกหัวเชื้อจากแหล่งที่เชื่อถือได้ว่าเป็นพันธุ์ดี ให้ผลผลิตสูงมีการปนเปื้อนน้อยที่สุดหรือไม่มี
2. เลือกตอซังหรือฟางข้าวนวดที่สะอาดปราศจากเชื้อราเมล็ดผักกาด ฟางต้องมีลักษณะแห้งสนิทและอมน้ำได้ง่าย วัสดุเพาะทุกชนิดไม่ควรทิ้งให้ตากแดดตากฝน หรือเก็บ
ค้างปี
3. มีความเข้าใจถึงสภาพความต้องการต่าง ๆ ในการเจริญเติบโตของเห็ดฟาง เพื่อจะได้ปฏิบัติดูแลกองเพาะอย่างถูกต้อง เช่น เรื่องอุณหภูมิในกองเพาะขณะที่เส้น ใยเจริญเติบโต ต้องการอุณหภูมิระหว่าง 35 -38 อวศาเซลเซียส ซึ่งถ้าในกองเพาะร้อนหรือเย็นเกินไป ก็ควรจะต้องระบายอากาศ เพื่อให้เกิดการถ่ายเทอ๊อกซิเจน ต้องเผารอบกองเพาะ เพื่อให้ความร้อนแก่กองฟางในฤดูหนาว นอกจากนี้ยังควรเข้าใจเรื่องความชื้น
แสงสว่าง ความเป็นกรด-ด่าง และความสามารถในการใช้อาหารของเห็ดฟางอีกด้วย
4. ความสะอาดของแปลงเพาะ ก่อนเพาะควรจะได้ถางหญ้าเตรียมดินไว้เสียก่อน และเมื่อ
การเพาะเสร็จสิ้นควรนำฟางที่ใช้แล้วเป็นปุ๋ยหมัก เผาหรือตากดินบริเวณแปลงเพาะที่ใช้แล้วทิ้งไว้ประมาณ 4-5 วัน เพื่อฆ่าเชื้อราที่สะสมในบริเวณนั้น เป็นการเตรียมที่เพาะในครั้งต่อไป และเป็นการลดประมาณเชื้อราที่อาจมีอยู่ในดิน สำหรับการเพาะ
เห็ดฟางในโรงเรือนแบบอุตสาหกรรม ควรมีการพักโรงเรือนเป็นครั้งคราวและทำความ
สะอาดโรงเรือนเพื่อทำลายศัตรูเห็ดฟางก่อนที่เพาะในรุ่นต่อไป
เมื่อสามารถปฏิบัติในเช่นนี้ ท่านก็สามารถที่จะเพาะเห็ดฟางได้ประสบความสำเร็จอย่างแน่นอน

การเก็บดอกเห็ด
ควรเก็บเมื่อดอกเห็ดฟางโตเต็มที่คือมีลักษณะเต่งตึง ปลอกหุ้มขยายตัวเต็มที่ ดอกเห็ดมีลักษณะเป็นหัวแป้นอยู่ก็ควรรอไว้อีกหนึ่งหรือครึ่งวัน แต่เมื่อเห็ดมีลักษณะหัวยึดขึ้นแบบหัวพุ่ง
ก็ต้องเก็บทันทีมิฉะนั้นดอกเห็ดจะบาน ทำให้ขายไม่ได้ราคา วิธีการเก็บดอกเห็ดให้ใช้นิ้วชี้กับ
นิ้วหัวแม่มือกดดอกเห็ดแล้วหมุนเล็กน้อยยกขึ้นเบา ๆ
ดอกเห็ดจะหลุดออกมาแล้วให้ใช้มีดคม ๆ ตัดโคนดอกเพื่อเอาสิ่งสกปรกออกจากนั้นก็นำไปเก็บไว้ในที่เย็น เพราะถ้าเก็บไว้ในที่ร้อนอบอ้าว แล้วจะทำให้ดอกเห็ดบานเร็ว

คุณค่าทางโภชนาการของเห็ดฟาง

คุณค่าทางอาหาร เห็ดฟาง เห็ดฟางแห้ง
โปรตีน
ไขมัน
คาร์โบไฮเดรต
เส้นใย/กาก
เถ้า
พลังงาน
แคลเซียม
เหล็ก
ฟอสฟอสรัส 3.40
1.80
3.90
1.40

-
44 แคลอรี่
8 มิลลิกรัม
11 มิลลิกรัม
-



49.04
20.63
17.03


13.30
4,170 แคลอรี่
2.35 ของเถ้า
0.99 ของเถ้า
30.14 ของเถ้า

การเพาะเห็ดฟางโดยใช้ทะลายปาล์มน้ำมัน

ปาล์มน้ำมันพืชเศรษฐกิจของ จ.กระบี่ ที่วันนี้ไม่ใช่มีราคาแค่เมล็ดเพื่อใช้เป็นวัตถุดิบป้อนโรงงานอุตสาหกรรมเท่านั้น แต่ยังมีส่วนอื่นๆ ของปาล์มที่สามารถนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์เพิ่มมูลค่าให้แก่เกษตรกรเจ้าของสวนปาล์มได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะทะลายปาล์ม ที่เมื่อก่อนมองดูเป็นสิ่งที่ไร้ค่า แต่ปัจจุบันกลับกลายเป็นสิ่งที่มีราคา เป็นที่ต้องการของเกษตรกรที่ยึดอาชีพเพาะเห็ดฟางอย่างมาก
หลังจากที่สำนักงานปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก) จ.กระบี่ ร่วมกับวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีกระบี่ จัดหลักสูตรอบรมการใช้ประโยชน์จากปาล์มน้ำมันแก่เกษตรกรผู้ปลูกปาล์มในเขตพื้นที่ปฏิรูปที่ดิน ภายใต้โครงการสร้างและพัฒนาเกษตรกรรุ่นใหม่ โดยมีเป้าหมายเพื่อสร้างเกษตรกรรุ่นใหม่ให้มีความรู้ทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติ เข้าถึงองค์ความรู้และจัดการเทคโนโลยีการเกษตรที่เหมาะสมเพื่อใช้ในการประกอบอาชีพเกษตรกรรมอย่างยั่งยืน
สฤษดิ์ วิเศษมาก เกษตรกรชาวสวนปาล์ม วัย 30 ปีเศษ อยู่บ้านเลขที่ 100 หมู่ 5 ต.โคกยาง อ.เหนือคลอง จ.กระบี่ หนึ่งในผู้สำเร็จจากการอบรมในหลักสูตรดังกล่าว ซึ่งปัจจุบันได้หันมายึดอาชีพเพาะเห็ดฟางจากทะลายปาล์มอย่างเป็นล่ำเป็นสัน มีรายได้จากการจำหน่ายผลผลิตเดือนละไม่ต่ำกว่า 10,000-15,000 บาท โดยมีตลาดหลักอยู่ที่กรุงเทพฯ ทั้งตลาดไทและสี่มุมเมือง
"ผมเป็นคนสุราษฎร์มาอยู่กระบี่ได้ 4-5 ปีแล้ว มาแต่งงานมีครอบครัวที่นี่ มีสวนปาล์มอยู่ 15 ไร่ แต่ไม่ค่อยสนใจมากนัก เพราะอาชีพที่ทำรายได้หลักผมทุกวันนี้ก็คือการเพาะเห็ดฟางขาย"
สฤษดิ์บอกว่าการเพาะเห็ดฟางของเขาจะต่างจากที่อื่นๆ ที่ต้องลงทุนสร้างโรงเรือนขนาดใหญ่หรือใช้อุปกรณ์ในการเพาะ ซึ่งมีค่าใช้จ่ายที่สูง ในขณะที่ตนเองนั้นจะใช้ทะลายปาล์ม ซึ่งเป็นเศษวัสดุเหลือใช้ที่หาได้ง่ายในพื้นที่มาใช้เป็นอุปกรณ์ในการเพาะเห็ด โดยเมื่อก่อนจะใช้ทะลายปาล์มจากสวนของตนเอง แต่หลังจากได้ขยายพื้นที่การเพาะเห็ดเพิ่มขึ้น จึงต้องไปหาซื้อจากโรงงานสกัดน้ำมันปาล์มในราคาตันละ 400 บาท
"ตอนนี้ที่บ้านทำอยู่ประมาณ 100 ร่อง แต่ละร่องจะยาว 4 เมตร กว้าง 80 เซนติเมตร และจะใช้ทะลายปาล์ม 3 หัวเรียงติดต่อกัน ผลผลิตแต่ละร่องจะเก็บได้ประมาณ 5-6 กิโลกรัมต่อวัน ซึ่งทุกวันนี้ผลผลิตที่เก็บได้เฉลี่ยอยู่ที่ 60 กิโล/วัน โดยจะส่งให้พ่อค้าที่กรุงเทพฯ ทั้งที่ตลาดไทและตลาดสี่มุมเมือง ในราคา 38-40 บาทต่อกิโลกรัม โดยจะไปส่งที่สนามบินกระบี่ทุกวัน"
สฤษดิ์ยอมรับว่าอาชีพการเพาะเห็ดฟางจากทะลายปาล์มใน จ.กระบี่ ขณะนี้เริ่มมีผู้สนใจกันมากขึ้น เกษตรกรชาวสวนปาล์มใน จ.กระบี่ ส่วนใหญ่ได้หันมาเพาะเห็ดฟางจากทะลายปาล์มกันมากขึ้น เนื่องจากเป็นอาชีพที่ทำรายได้ดีและไม่มีปัญหาในเรื่องตลาด บางพื้นที่ก็มีการรวมกลุ่มทำกันอย่างเป็นล่ำเป็นสัน ซึ่งที่ผ่านมาก็เป็นที่น่ายินดีที่หน่วยงานภาครัฐได้ให้ความสำคัญ มีโครงการต่างๆ จัดอบรมถ่ายทอดความรู้ให้แก่เกษตรกรชาวสวนปาล์มมากขึ้น
"อย่างเมื่อก่อนการเพาะเห็ดของผมจะทำแบบง่ายๆ ไม่มีความรู้ทางวิชาการเข้ามาจับ ทำให้บางครั้งก็เกิดปัญหาผลผลิตเสียหายมาก มีโรคระบาดเกิดขึ้น ไม่รู้จะทำอย่างไรก็ต้องทำลายทิ้ง ต้องเป็นหนี้เป็นสินต่อ ส่วนทะลายปาล์มที่หมดสภาพจากการเพาะเห็ดเขาก็แนะนำให้นำไปทำปุ๋ยอินทรีย์ หลังจากที่เมื่อก่อนทิ้งอย่างเดียว" สฤษดิ์ย้ำชัด
นับเป็นอีกก้าวความสำเร็จของเกษตรกรผู้ปลูกปาล์มอย่าง "สฤษดิ์ วิเศษมาก" ที่สามารถนำวัสดุที่เหลือใช้อย่างทะลายปาล์มมาประยุกต์เป็นโรงเรือนสำหรับเพาะเห็ดฟางเพื่อเสริมรายได้อีกทางหนึ่ง