วันอังคารที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

เปิดตำนานเงาะโรงเรียน
เงาะโรงเรียน หนึ่งในของดีเมืองนาสาร จังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นเงาะที่มีรสชาติ อร่อย หอม หวาน ล่อน กรอบ มีปลูกกันมากอย่างเป็นล่ำเป็นสัน และมีชื่อเสียงเป็นที่นิยมของ ผู้บริโภค อำเภอบ้านาสารเป็นถิ่นกำเนิดของเงาะโรงเรียนต้นแรก

เปิดตำนานเงาะโรงเรียน เงาะโรงเรียนมีประวัติเล่าว่า เมื่อปี พ.ศ. 2468 มีชาวจีนสัญชาติมาเลเซีย ชื่อ นาย เค หว่อง มีภูมิลำเนาอยู่ที่เมืองปินัง ได้เดินทางมาทำเหมืองแร่ดีบุก ที่หมู่บ้านเหมืองแกะ ตำบลนาสาร อำเภอบ้านนาสาร โดยสร้างบ้านพักเป็นเรือนไม้ 2 ชั้น ในที่ดินที่ซื้อมาจำนวน 18 ไร่ ใกล้สถานีรถไฟทางด้านตะวันตก ได้นำเมล็ดเงาะมาปลูกข้างบ้านพัก ปรากฏว่ามีเงาะต้นหนึ่ง มีผลที่มีลักษณะต่างไปจากต้นอื่น คือ รูปผล ค่อนข้างกลม เนื้อกรอบ หวานหอม เปลือกบาง รสชาติอร่อย
เมื่อนาย เค หว่อง เลิกล้มกิจการเมืองแร่ ในปี พ.ศ. 2497 ได้ขายที่ดินจำนวน 18 ไร่ พร้อมบ้านดังกล่าวให้แก่กระทรวงธรรมการ ( กระทรวงศึกษาธิการ ) ซึ่งได้ปรับปรุงใช้เป็นสถานที่เรียน เรียกว่า โรงเรียนนาสาร เงาะที่นาย เค หว่อง ปลูกไว้ก็ได้ขยายพันธุ์สู่ประชาชน โดยใช้ต้นพันธุ์เดิม จึงเรียกว่า เงาะโรงเรียน ในปี พ .ศ. 2512 พระบาทสมเด็จพรเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ได้เสด็จเยี่ยมพสกนิกร จังหวัดสุราษฎร์ธานี นายชัช อุตตมางกูร ผู้นำชาวสวนเงาะได้ทูลเกล้าฯ ถวายผลเงาะโรงเรียน และขอพระราชทาน ชื่อพันธุ์เงาะนี้สียใหม่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำรัสว่า " ชื่อเงาะโรงเรียนดีอยู่แล้ว " นับแต่นั้นมาเงาะพันธุ์นี้จึงได้ชื่อว่า " เงาะโรงเรียน " อย่างเป็นทาง
เมื่อความเป็นเอกลักษณ์ อย่างหนึ่งของอำเภอบ้านนาสาร จังหวัดสุราษฎร์ธานี จึงได้จัดงาน " วันเงาะโรงเรียน " ขึ้นเป็นประจำ ในช่วงเดือน กรกฎาคมของทุกปี

เปิดตำนานเงาะโรงเรียน
เงาะโรงเรียน หนึ่งในของดีเมืองนาสาร จังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นเงาะที่มีรสชาติ อร่อย หอม หวาน ล่อน กรอบ มีปลูกกันมากอย่างเป็นล่ำเป็นสัน และมีชื่อเสียงเป็นที่นิยมของ ผู้บริโภค อำเภอบ้านาสารเป็นถิ่นกำเนิดของเงาะโรงเรียนต้นแรก

เปิดตำนานเงาะโรงเรียน เงาะโรงเรียนมีประวัติเล่าว่า เมื่อปี พ.ศ. 2468 มีชาวจีนสัญชาติมาเลเซีย ชื่อ นาย เค หว่อง มีภูมิลำเนาอยู่ที่เมืองปินัง ได้เดินทางมาทำเหมืองแร่ดีบุก ที่หมู่บ้านเหมืองแกะ ตำบลนาสาร อำเภอบ้านนาสาร โดยสร้างบ้านพักเป็นเรือนไม้ 2 ชั้น ในที่ดินที่ซื้อมาจำนวน 18 ไร่ ใกล้สถานีรถไฟทางด้านตะวันตก ได้นำเมล็ดเงาะมาปลูกข้างบ้านพัก ปรากฏว่ามีเงาะต้นหนึ่ง มีผลที่มีลักษณะต่างไปจากต้นอื่น คือ รูปผล ค่อนข้างกลม เนื้อกรอบ หวานหอม เปลือกบาง รสชาติอร่อย
เมื่อนาย เค หว่อง เลิกล้มกิจการเมืองแร่ ในปี พ.ศ. 2497 ได้ขายที่ดินจำนวน 18 ไร่ พร้อมบ้านดังกล่าวให้แก่กระทรวงธรรมการ ( กระทรวงศึกษาธิการ ) ซึ่งได้ปรับปรุงใช้เป็นสถานที่เรียน เรียกว่า โรงเรียนนาสาร เงาะที่นาย เค หว่อง ปลูกไว้ก็ได้ขยายพันธุ์สู่ประชาชน โดยใช้ต้นพันธุ์เดิม จึงเรียกว่า เงาะโรงเรียน ในปี พ .ศ. 2512 พระบาทสมเด็จพรเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ได้เสด็จเยี่ยมพสกนิกร จังหวัดสุราษฎร์ธานี นายชัช อุตตมางกูร ผู้นำชาวสวนเงาะได้ทูลเกล้าฯ ถวายผลเงาะโรงเรียน และขอพระราชทาน ชื่อพันธุ์เงาะนี้สียใหม่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำรัสว่า " ชื่อเงาะโรงเรียนดีอยู่แล้ว " นับแต่นั้นมาเงาะพันธุ์นี้จึงได้ชื่อว่า " เงาะโรงเรียน " อย่างเป็นทาง
เมื่อความเป็นเอกลักษณ์ อย่างหนึ่งของอำเภอบ้านนาสาร จังหวัดสุราษฎร์ธานี จึงได้จัดงาน " วันเงาะโรงเรียน " ขึ้นเป็นประจำ ในช่วงเดือน กรกฎาคมของทุกปี