วันเสาร์ที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2552

อาฎานาฏิยปริตร

อาฏานาฏิยปริตร
วิปัสสิสสะ นะมัตถุ / ความนอบน้อมแห่งข้าพเจ้าจงมีแด่พระวิปัสสีพุทธเจ้า / จักขุมันตัสสะ สิรีมะโต / ผู้มีจักษุ ผู้มีสิริ / สิขิสสะปิ นะมัตถุ ความน้อมน้อมแห่งข้าพเจ้า จงมีแด่พระสิขีพุทธเจ้า / สัพพะภูตานุกัมปิโน / ผู้ปกติอนุเคราะห์แก่สัตว์ทั้งปวง / เวสสะภุสสะ นะมัตถุ / ความน้อมน้อมแห่งข้าพเจ้า จงมีแด่พระเวสสภูพุทธเจ้า / นหาตะกัสสะ ตะปัสสิโน /ผู้มีกิเลสอันล้างแล้ว ผู้มีตปะ/ นะมัตถุ กะกุสันธัสสะ / ความน้อมน้อมแห่งข้าพเจ้า จงมีแด่พระกกุสันธพุทธเจ้า / มาระเสนัปปะมัททิโน / ผู้ย่ำยีเสียซึ่งมารและเสนา / โกนาคะมะนัสสะ นะมัตถุ / ความน้อมน้อมแห่งข้าพเจ้า จงมีแด่พระโกนาคมพุทธเจ้า / พราหมะณัสสะ วุสีมะโต / ผู้มีบาปอันลอยแล้ว ผู้มีพรหมจรรย์อันอยู่จบแล้ว/ กัสสะปัสสะ นะมัตถุ /ความน้อมน้อมแห่งข้าพเจ้า จงมีแด่พระกัสสปพุทธเจ้า / วิปปะมุตตัสสะ สัพพะธิ / ผู้พ้นแล้วจากกิเลสทั้งปวง / อังคีระสัสสะ นะมัตถุ / ความน้อมน้อมแห่งข้าพเจ้า จงมีแด่พระอังคีรสพุทธเจ้า / สักยะปุตตัสสะ สิรีมะโต /ผู้เป็นโอรสแห่งศากยราชผู้มีสิริ/ โย อิมัง ธัมมะมะเทเสสิ / พระพุทธเจ้าพระองค์ใด ได้ทรงแสดงซึ่งธรรมนี้ / สัพพะทุกขาปะนูทะนัง / เป็นเครื่องบรรเทาเสียซึ่งทุกข์ทั้งปวง / เย จาปิ นิพพุตาโลเก/ อนึ่ง พระพุทธเจ้าทั้งหลายเหล่าใดก็ดีที่ดับกิเลสแล้วในโลก / ยะถาภูตัง วิปัสสิสุง /พระพุทธเจ้าทั้งหลายเหล่านั้น เป็นคนไม่มีความส่อเสียด / มะหันตา วีตะสาระทา / ผู้เป็นใหญ่ผู้มีความครั่นคร้ามไปปราศแล้ว / หิตัง เทวะมะนุสสานัง, ยัง นะมัสสันติ โคตะมัง / เทพดาและมนุษย์ทั้งหลายนอบน้อมอยู้ซึ่งเป็นพระพุทธเจ้าพระองค์ใด ผู้เป็นโคตมโคตร ผู้เป็นประโยชน์เกื้อกูลแก่เทพดา และมนุษย์ทั้งหลาย / วิชชาจะระณะสัมปันนัง/ ถึงพร้อมแล้วด้วยวิชชาและจรณะ/ มหันตัง วีตะสาระทัง / ผู้ใหญ่ผู้มีความครั่นคร้ามไปปราศแล้ว / วิชชาจะระณะสัมปันนัง พุทธัง วันทามะ โคตะมันติ ข้าพเจ้าทั้งหลายขอนมัสการพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้โคตมโคตรผู้ถึงพร้อมแล้วด้วยวิชชาและจรณะ / เอตอ จัญเญ จะ สัมพุทธา / พระพุทธเจ้าเหล่านี้ก็ดี เหล่าอื่นก็ดี / อะเนกะสะตะโกฏะโย / หลายร้อยโกฏิ/ สัพเพ พุทธา อะสะมะสะมา / พระพุทธเจ้าเหล่านั้นทั้งหมดเสมอกันไม่มีใครเหมือน / สัพเพ พุทธา มะหิธิกา / พระพุทธเจ้าเหล่านั้นล้วนประกอบแล้วด้วยทศพลญาณ/ เวสารัชเชหุปาคะตา / ประกอบไปด้วยเวสารัชชญาณ / สัพเพ เต ปะฏิชานันติ / พระพุทธเจ้าเหล่านั้นล้วนตรัสรู้อยู่ / อาสะภัณฐานะมุตตะมัง / ซึ่งอาสภฐานอันอุดม/ สีหะนาทัง นะทันเต เต, ปะริสาสุ วิสาระทา/ พระพุทธเจ้าเหล่านั้นเป็นผู้องอาจไม่ครั่นคร้ามบันลือสีหนาทในบริษัททั้งหลาย / พรัหมะจักกัง ปะวัตเตนติ / ยังพรหมจักรให้เป็นไป/ โลเก อัปปะฏิวัตติยัง / อันใครๆยังไม่ไดให้เป็นไปแล้วในโลก / อุเปตา พุทธะธัมเมหิ /พระพุทธเจ้าทั้งหลายเหล่านั้นประกอบแล้วด้วยพุทธธรรมทั้งหลาย/ อัฏฐาระสะหิ นายะกา / 18 เป็นนายก/ ทวัตติงสะลักขะณูเปตา สีตยานุพยัญชะนาธะรา / ผู้ประกอบด้วยพระลักษณะ 32 ประการ และทรงซึ่งอนุพยัญชนะ 80 / พยามัปปะภายะ สุปปะภา / มีรัศมีอันงามด้วยพระรัศมี มีมณฑลข้างละวา/ สัพเพ เต มุนิกุญชะรา / พระพุทธเจ้าเหล่านั้น้วนเป็นมุนีอันประเสริฐ / พุทธา สัพพัญญุโน เอเต /พระพุทธเจ้าเหล่านั้นล้วนเป็นพระสัพพัญญู/ สัพเพ ขีณาสะวา ชินา / ล้วนเป็นพระขีณาสพ ผู้ชนะ / มะหัปปะภา มะหาเตชา/ มีพระรัศมีอันมาก มีพระเดชอันมาก / มะหาปัญญา มหัปผะลา / มีพระปัญญามาก มีพระกำลังมาก / มะหารุณิกา ธีรา / มีพระกรุณามาก เป็นนักปราชญ์/ สัพเพสานัง สุขาวะหา/ นำสุขมาเพื่อสัตว์ทั้งหลายทั้งปวง/ ทีปา นาถา ปะติฏฐา จะ / เป็นเกาะ เป็นที่พึ่งและเป็นที่อาศัย/ ตาณา เลณา จะ ปาณินัง/ เป็นที่ต้านทานเป็นที่เร้นของสัตว์ / คะตี พันธู มะหัสสาสา / มีคติ เป็นเผ่าพันธุ์ เป็นที่ยินดีมาก / สะระณา จะ หิเตสิโน / เป็นที่ระลึกและแสวงหาประโยชน์/ สะเทวะกัสสะ โลกัสสะ/ เพื่อสัตว์โลกกับเทวโลก/ สัพเพ เอเต ปะรายะนา / พระพุทธเจ้าเหล่านั้นล้วนเป็นเบื้องหน้าของสัตว์ / เตสาหัง สิระสา ปาเท, วันทามิ ปุริสุตตะเม, วะจะสา มะนะสา เจวะ, วันทาเมเต ตะถาคะเต /ข้าพเจ้าขอวันทาพระบาทของพระพุทธเจ้าทั้งหลายเหล่านั้นด้วยเศียรเกล้าและขอวันทาพระพุทธเจ้าทั้งหลายเหล่านั้นผู้เป็นบุรุษอันอุดมผู้เป็นตถาคต ด้วยวาจาและใจทีเดียว/ สะยะเน อาสะเน ฐาเน / ในที่นอนด้วย ในที่นั่งด้วย ในที่ยืนด้วย/ คะมะเน จาปิ สัพพะทา / แม้ในที่เดินด้วยในกาลทุกเมื่อ/ สะทา สุเขนะ รักขันตุ, พุทธา สันติกะรา ตุวัง /พระพุทธเจ้า ผู้กระทำความระงับ จงรักษาท่านด้วยความสุขในกาลทุกเมื่อ / เตหิ ตวัง รักขิโต สันโต/ ท่านผู้อันพระพุทธเจ้าเหล่านั้นทรงรักษาแล้ว จงเป็นผู้ระงับ / มุตโต สัพพะภะเยนะ จะ, สัพพะโรโค วินิมุตโต/ พ้นแล้วจากภัยทั้งปวง / สัพพะสันตาปะวัชชิโต / เว้นแล้วจากความเดือดร้อนทั้งปวง / สัพพะเวระมะติกกันโต / ล่วงเสียซึ่งเวรทั้งปวง / นิพพุโต จะ ตุวัง ภะวะ/ ท่านจงเป็นผู้ดับทุกข์ทั้งปวงด้วย / สัพพีตีโย วิวัชชันตุ / ความจัญไรทั้งปวงจงเว้นไป / สัพพะโรโค วินัสสะตุ / โรคทั้งปวงจงฉิบหายไป/ มา เต ภะวัตวันตะราโย / อันตรายอย่าได้มีแก่ท่าน / สุขี ทีฆายุโก ภะวะ / ขอท่านจงเป็นผู้มีสุขมีอายุยืน / อะภิวาทะนะสีลิสสะ, นิจจัง วัฑฒาปะจายิโน, จัตตาโร ธัมมา วัฑฒันติ อายุ วัณโณ สุขัง พะลัง / ธรรมทั้งปลาย 4 คือ อายุ วรรณะ สุขะ พละ ย่อมเจริญแก่บุคคล ผู้มีความไหว้ต่อบุคคลผู้ควรไหว้เป็นปกติ ผู้อ่นน้อมต่อบุคคลผู้เจริญเป็นนิตย์ ฯ